กสิกร วิชั่น ไฟแนลเชียล ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น 67.50% ในธนาคารแมสเปี้ยน อินโดนีเซีย

0
1299

นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ ประธานกรรมการ บริษัท กสิกร วิชั่น ไฟแนนเชียล จำกัด (KASIKORN Vision Financial Company Pte. Ltd) (“KVF”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของธนาคารกสิกรไทย ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นแบบมีเงื่อนไข (Conditional Sale and Purchase Agreement) (“CSPA”) กับนายอาริม มาคุส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแมสเปี้ยน โดย KVF จะเข้าถือหุ้นรวม 67.50% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนไม่เกิน 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่าประมาณ 7,556 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย และสามารถเข้าทำธุรกรรมได้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2565

สำหรับการได้มาซึ่งหุ้น (Share Acquisition) โดย KVF จะซื้อหุ้นธนาคารแมสเปี้ยนอีก 30.01% ซึ่งจะทำให้การถือหุ้นของกลุ่มธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 40.00% จาก 9.99% ที่ธนาคารถือครองอยู่เดิมตั้งแต่ปี 2560 หลังจากนั้น KVF จะทำการซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Rights Issue) เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มธนาคารกสิกรไทยในธนาคารแมสเปี้ยนรวมเป็น 67.50% และจะทำให้ธนาคารแมสเปี้ยนมีทุนขั้นต่ำ ประมาณ 210 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การเข้าซื้อธนาคารแมสเปี้ยนในครั้งนี้  จะทำให้สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศอินโดนีเซียได้ ด้วยมูลค่าเงินลงทุนที่ต่ำกว่าการยื่นขอใบอนุญาตใหม่ (เงินลงทุนขั้นต่ำ 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)  ทำให้มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ยังเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการขยายธุรกิจของธนาคาร เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยดิจิทัลในอินโดนีเซียช่วยสนับสนุนให้แนวโน้มบริการทางการเงินสำหรับลูกค้าทุกกลุ่มมีแนวโน้มสดใสไปพร้อมกับการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 และสอดคล้องกับกลยุทธ์การเติบโตที่สำคัญในการมุ่งสู่ความเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคที่แท้จริง ในการเชื่อมโยงธุรกิจของธยาคารกสิกรไทยใน  AEC จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (AEC+3) ที่จะมีพลวัตการเติบโตสูงต่อไปในอนาคต

ไม่เพียงเท่านั้น การเข้าซื้อธนาคารแมสเปี้ยนซึ่งเป็นธนาคารท้องถิ่นที่มีศักยภาพและจุดแข็งในการเข้าถึงกลุ่มธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็กและขนาดย่อมซึ่งสอดรับกับความเชี่ยวชาญของธนาคารกสิกรไทยในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมเพื่อช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในประเทศอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านโมบายแบงก์กิ้งผ่านแอพพลิเคชั่น K-PLUS ในการนำเสนอและส่งมอบนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุมให้แก่ลูกค้าในอินโดนีเซียซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตของเทคโนโลยีทางการเงินที่โดดเด่นเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน  และจะทำให้ K-PLUS กลายเป็นแพลตฟอร์มระดับภูมิภาคที่แท้จริง (True Regional Platform)

ทั้งนี้ กลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคารจะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่

ตั้งเป้าเร่งการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มองค์กรหรือธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยที่ลงทุนโดยตรงในอินโดนีเซีย (TDI) ธุรกิจต่างชาติที่ลงทุนในอินโดนีเซีย ตลอดจนกลุ่มธุรกิจท้องถิ่น ให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและการผนึกกันเป็นหนึ่งเดียวของตลาดภายในประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังที่จะให้บริการธนาคารที่ครอบคลุมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าองค์กร ทั้งบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตและบริการบัญชีเงินเดือนสำหรับพนักงานองค์กร 

  • กลุ่มธุรกิจ SMEs

มุ่งสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจครอบครัว ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อหรือไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการทางการเงิน รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการให้สินเชื่อตั้งแต่ต้นจนจบ นอกจากนี้ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านภาคอุตสาหกรรมและการขยายตัวของความเป็นเมืองในอินโดนีเซีย ธนาคารจะสนับสนุนสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ (Supply Chain Financing) แก่ธุรกิจ SMEs ท้องถิ่น เพื่อให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถเติบโตไปพร้อมกับห่วงโซ่มูลค่าของประเทศและของโลกได้ ทั้งนี้ จะนำใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งในการปรับปรุงการชำระเงินและบริการธุรกรรมทางธนาคารเพื่อให้สามารถเข้าถึงธุรกิจ SMEs ในระดับท้องถิ่นอีกจำนวนมากในอินโดนีเซียที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อ

  • กลุ่มลูกค้ารายย่อย

ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินเชื่อดิจิทัล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคและธุรกิจ MSME จำนวนมากในอินโดนีเซีย สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกและง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะใช้ K-PLUS ในการให้บริการโมบายแบงก์กิ้งเพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าในทุกด้านของบริการทางการเงิน

ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถผลักดันธนาคารแมสเปี้ยนให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะ 5 ปีนับจากนี้ โดยมีเป้าหมายสู่การเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาคชวาตะวันออก (East Java) ภายในปี 2570 

เกี่ยวกับ

ธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ก่อตั้งเมื่อปี 2532 ณ เมือง สุราบายา โดยเริ่มดำเนินการในฐานะธนาคารพาณิชย์ เมื่อปี 2533 และให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปี 2538 ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย เมื่อปี 2556 ธนาคาร Maspion มีสำนักงานรวม 46 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยสำนักงานใหญ่ 1 แห่ง สาขา 10 แห่ง สาขาย่อย 26 แห่ง สำนักเงินสด 7 แห่ง และสำนักงานปฏบัติการ 2 แห่งที่กระจายอยู่ในสุราบายา จาการ์ตา เซมารัง เดนปาซาร์ เมดาน บันดุง มากัสซาร์ โซโล มาลัง เปอเวอกาโต และปาเล็มบัง

KVF signs CSPA to purchase 67.50 percent of shares in Bank Maspion Indonesia

On May 30, 2022, Mr. Pattarapong Kanhasuwan, Chairman, KASIKORN Vision Financial Company Pte. Ltd. (KVF), a wholly-owned subsidiary of KBank, signed a Conditional Sale and Purchase Agreement (CSPA) with Mr. Alim Markus, Chief Executive Officer of Maspion Group. KVF will hold a total of 67.50 percent of shares, with an investment value of not more than USD 220 million, or equivalent to approximately THB 7,556 million. This transaction is expected to be approved by relevant authorities, including the Bank of Thailand, and finalized by the end of 2022.

The first step is share acquisition whereby KVF will buy 30.01 percent of Bank Maspion’s shares, which will increase KBank Group’s shareholding to 40.00 percent from the 9.99 percent stake that the Bank has held since 2017. Then, KVF will purchase additional shares (Rights Issue) in order to increase the shareholding of KBank Group in Bank Maspion to 67.50 percent, and will increase Bank Maspion’s minimum capital to USD 210 million.

The acquisition of Bank Maspion will allow KBank to conduct commercial banking business in Indonesia at a lower investment value than applying for a new license (minimum capital requirement of USD 700 million), giving KBank the opportunity for a higher return on investment. This is also the right time to expand KBank’s business, as public infrastructure development and the digitalization drive in Indonesia both support the promising outlook for financial services in all customer segments along with an economic rebound anticipated in the post-COVID-19 era. In addition, this move is in line with KBank’s key growth strategy to become a truly regional bank and connect businesses across the AEC, China, Japan and South Korea (AEC+3) – a region with high growth dynamics in the future.

What’s more, the acquisition of Bank Maspion, a local bank with the potential and strength to reach local small and micro businesses, is in line with KBank’s expertise in supporting small and micro businesses to strengthen such enterprises’ business capabilities in Indonesia. 

Additionally, KBank will also leverage its mobile banking expertise through the K PLUS application in order to deliver innovative and comprehensive products and services to customers in Indonesia, which is an emerging star of ASEAN’s financial technology market. This will allow K PLUS to become a truly regional platform.

Our business strategy focuses on the needs of all customer segments, as follows:

  • Large Corporate Segment

To target acceleration of corporate lending to large Thai Direct Investment (TDI) firms, foreign businesses investing in Indonesia, as well as local business groups, in accordance with industrial transformation and a unified domestic market. Focus will be on providing universal banking services, including internet banking and payroll services, in response to the needs of corporate businesses. 

  • SME Segment

To focus on promoting credit to serve the unmet needs of SME businesses, especially medium-sized, well-established local business entities, by designing suitable products and services as well as improving end-to-end service delivery to provide a seamless experience for SME customers. In accordance with Indonesia’s industrial transformation and urbanization, another focus will be on providing supply chain financing to support local SMEs in both domestic and global value chains. We will also leverage our strong technological capability to enhance payment and transactional banking services to reach out to the underserved local SMEs.

  • Retail Segment 

To prioritize development of retail digital lending through data analytics in order to provide convenient channels and accessibility for massive consumer and MSME demand. We will provide mobile banking services to enhance the overall customer experience in all facets of financial services.

Guided by its growth strategy, KBank expects that Bank Maspion will see aggressive loan growth in the next five years. It aims to become the largest bank in East Java by 2027.