ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2566 ที่ 4,735 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากปีที่แล้ว รวม 9 เดือน มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 13,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 31% จากปี 2565

0
431

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 และรอบ 9 เดือน ปี 2566 โดยมีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2566 อยู่ที่ 4,735 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวม 9 เดือน ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 13,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% จากปีที่แล้ว ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย โดยมีอัตราส่วนหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำที่ 2.67% ขณะที่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพทรงตัวในระดับสูงที่ 144%

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องจาก 2 ไตรมาสแรก รวม 9 เดือน ถือว่าธนาคารทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ การบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงาน และการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ ส่งผลให้มีกำไรที่ดีและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นำไปสู่การปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลขึ้นเป็น 0.05 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวม 4.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 150% จากเงินปันผลระหว่างกาลในปีที่แล้ว โดยได้ขึ้นเครื่องหมาย XD ไปเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเผชิญกับความผันผวนจากทั้งในและนอกประเทศ ธนาคารยังคงใช้นโยบายการเติบโตสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมองว่าการเร่งเติบโตสินเชื่อท่ามกลางภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยนี้อาจก่อให้เกิดหนี้เสียและภาระการตั้งสำรองฯ ตามมาในภายหลัง ขณะเดียวกันธนาคารยังคงมีแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อดูแลลูกค้า ดังนั้นแล้ว การสร้างรายได้และผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจึงเน้นไปที่เรื่องของการใช้เงินทุนและสภาพคล่องที่มีอยู่ให้ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ

ในการบริหารพอร์ตเพื่อหนุนรายได้และผลตอบแทนจากดอกเบี้ย ธนาคารใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า การรีไซเคิลเงินทุน หรือการหมุนเวียนนำเอาสภาพคล่องที่ได้รับกลับมาจากการชำระคืนหนี้ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปปล่อยกู้ให้กับสินเชื่อใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าภายใต้กรอบความเสี่ยงที่กำหนดไว้

ด้านการเติบโตสินเชื่อใหม่จะเน้นการต่อยอดจากฐานลูกค้าเดิมของธนาคาร ผ่านการ cross sell หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ลูกค้ามีอยู่ เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิต ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อแล้ว ยังช่วยควบคุมคุณภาพสินเชื่อ เนื่องจากเรารู้จักและเข้าใจความเสี่ยงของลูกค้าเป็นอย่างดี

ในด้านการบริหารต้นทุนทางการเงินนั้น ธนาคารใช้กลยุทธ์การขยายฐานเงินฝากล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น โดยได้ทยอยขยายฐานเงินฝากประจำล่วงหน้ามาตั้งแต่ปีที่แล้วกว่า 40% ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาสามารถควบคุมต้นทุนเงินฝากได้ตามแผน ทั้งนี้ เงินฝากโดยรวมของธนาคารที่ปรับตัวลดลงเป็นผลจากการที่ผู้ฝากเงินนำเงินฝากออมทรัพย์ระยะสั้นย้ายไปลงทุนในเงินฝากระยะยาวรวมถึงตราสารหนี้ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

สำหรับการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี ธนาคารมองว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะยังคงมีความท้าทายอยู่ จึงยังยึดแนวทางการเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวังเช่นเดิม ด้านการแข่งขันด้านเงินฝากคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งย่อมสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนเงินฝาก ดังนั้น การขยายฐานเงินฝากในระยะถัดไปก็จะต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างต้นทุนทางการเงินและผลตอบแทนด้านสินเชื่อ

รายละเอียดผลการดำเนินงานหลักในไตรมาส 3 และ 9 เดือนปี 2566 มีดังนี้

สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 1,363 พันล้านบาท ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อรายย่อยยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 0.8% จากไตรมาสที่แล้ว นำโดย สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ของธนาคาร ด้านสินเชื่อลูกค้าธุรกิจลดลง 1.4% จากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการชำระหนี้คืนของลูกค้าและกลยุทธ์การรีไซเคิลเงินทุนของธนาคาร

ด้านเงินฝากอยู่ที่ 1,329 พันล้านบาท ชะลอลง 4.7% จากไตรมาสที่แล้ว โดยเงินฝากเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ เงินฝากทีทีบี ออลล์ฟรี และเงินฝากประจำยังคงเติบโตได้ตามแผน ขณะที่การลดลงมาจากกลุ่มเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์การบริหารต้นทุนทางการเงินและสภาพคล่องของธนาคาร

เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 และงวด 9 เดือนปี 2565 ผลการดำเนินงานยังคงให้ภาพการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนโดยกลยุทธ์ด้านสินเชื่อและเงินฝาก รวมทั้งการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินและพอร์ตการลงทุนในเชิงรุกเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.1% จากไตรมาส 3/65 ช่วยชดเชยผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง 1.1% และทำให้รายได้จากการดำเนินงานรวมในไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.1% จากไตรมาส 3/65 รวม 9 เดือน รายได้จากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 52,630 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 7,777 ล้านบาท และรอบ 9 เดือน ปี 2566 อยู่ที่ 22,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% และ 5.8% ตามลำดับ เป็นผลจากกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและแผนการลงทุนทั้งด้านพนักงานและด้านดิจิทัล โดยธนาคารยังคงสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับด้านรายได้ได้เป็นอย่างดี สะท้อนได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่อยู่ที่ 43% เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่วางไว้
จากผลการดำเนินงานข้างต้น หนุนให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) อยู่ที่ 10,232 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.2% จากไตรมาส 3/65 และสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2566 อยู่ที่ 29,733 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ในไตรมาส 3/66 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 4,354 ล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยที่ 0.2% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน รวม 9 เดือน ตั้งสำรองฯ ไปทั้งสิ้น 12,874 ล้านบาท ลดลง 5.0% จากปีก่อนหน้า เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่บริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย สะท้อนได้จากอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่อยู่ในระดับต่ำที่ 2.67% ด้านกันชนรองรับความเสี่ยง หรืออัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพทรงตัวในระดับสูงที่ 144%

ท้ายสุดด้านความเพียงพอของเงินกองทุน อัตราส่วน CAR และ Tier 1 (เบื้องต้น) ณ สิ้นไตรมาส 3/66 ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 20% และ 16% ซึ่งสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 12.0% และ 9.5% ตามลำดับ


ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต

เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange

TMBThanachart reported net profit of THB 4,735 million in 3Q23, a 27% increase from the same period last year, totaling of THB 13,596 million for the 9-month period, an increase of 31% from 2022.

TMBThanachart Bank Public Company Limited or TMBThanachart (ttb) announced its financial performance for the 3rd quarter and the 9-month period of 2023 (3Q23 and 9M23). In 3Q23, net profit was reported at THB 4,735 million, an increase of 27% from the same quarter last year. For 9M23, net profit increased to THB 13,596 million or an increase of 31% from last year. Asset quality remained under control as reflected by a low NPL ratio of 2.67% and a stable risk buffer or NPL coverage ratio staying high as 144%.
Mr. Piti Tantakasem CEO of TMBThanachart mentioned “The 3Q23 operating results continued to maintain positive momentum from the first two quarters. Overall, the Bank’s revenue generation, cost efficiency, and asset quality were achieved as planned, and these helped strengthening profitability and financial position. This, in turn, allowed the Bank to uplift dividend payout rate. As recently announced, the Bank has raised an interim dividend payment to THB 0.05 per share or equivalent to THB 4.8 billion baht in total, a 150% increase from an interim payment in the previous year, and the XD date was on 9 October 2023.
As Thai economy is grappling with headwinds from both domestic and global, the Bank has maintained prudent loan growth strategy as the aggressive growth against economic headwinds could lead to asset quality deterioration and provision burdens. In addition, the Bank has gradually adjusted the lending rates to support lending customers. Given such factors, the Bank will focus on increasing the efficiency of liquidity utilization and funding cost management to enhance interest income generation and margin spread.
To manage portfolios and enhance interest income generation, key strategy is to recycle capital and liquidity. Such an approach involves the use of excess liquidity from low-yield loan repayments to fund new loan growth that offers better risk-adjusted returns.
In addition, we have ensured the quality of new loan growth by focusing mainly on existing customers and cross-selling new products such as cash-your-Home loans, cash-your-car loans, personal loans, and credit cards. With this approach, the Bank could enhance loan yields concurrently ensuring loan quality as we understand customers’ track record and have better assessment of their risk profiles.

For funding cost management, the Bank pursued the pre-funding strategy as a preparation ahead of the rate hike cycle. We could expand time deposit base by over 40% in the previous year, allowing the Bank to manage funding cost as planned. However, under the rate hike cycle, depositors tend to seek for higher returns, and hence relocate their short-term savings to longer-term deposit products as well as corporate bonds. As a result, the Bank saw a decline in total outstanding deposit.
In our view, the economic outlook will remain challenging for the rest of the year. Therefore, we will maintain our prudent loan growth strategy. We also expect to see higher competition in deposit acquisition, and hence more pressure on the deposit cost. As such, striking a balance between funding cost and yield expansion would be the key consideration for our deposit strategy going forward.
The details of 3Q23 and 9M23 performance are as follows.
Total loans at the end of 3Q23 was at THB 1,363 billion, relatively flat compared to the previous quarter (QoQ). Retail loans continued its positive momentum with 0.8% growth QoQ. Key drivers were home loans, cash-your-Home loans, cash-your-car loans, personal loans, and credit card, aligning with the Bank’s direction. Commercial loans, on the other hand, declined by 1.4% QoQ due to loan repayments and liquidity-recycling strategy.
In terms of deposit, the outstanding was at THB 1,329 billion, a decline of 4.7% QoQ. Key factor was a decrease in current deposits and other saving products while targeted products such as ttb all free and time deposit continued growing as planned, in line with the Bank’s funding cost and liquidity management.
When comparing to 3Q22 and 9M22 or YoY basis, operating results still showed the recovery trend, driven by the execution of loan-deposit strategy as well as the proactive management of excess liquidity and investment portfolio to capture benefit from interest rate uptrend. As a result, net interest income improved by 13.1% from 3Q22 and helped compensate a decline of 1.1% YoY in net fee income. Total operating income, therefore, was reported at THB 18,000 million in 3Q23, an increase of 10.1% from 3Q22. Overall, the 9-month operating income amounted to THB 52,630 million, an increase of 9.6% YoY.
Operating expenses was reported at THB 7,777 million in 3Q23 and THB 22,944 million in 9M23, an increase of 4.4% YoY and 5.8% YoY, respectively. The increase was aligned with business volume growth as well as the Bank’s human resource and digital investment plan. With cost efficiency, the Bank could

keep costs in control and aligned with revenue generation as reflected by cost to income ratio staying at 43%, in line with target guidance.
As a result, Pre-Provision Operating Profit (PPOP) rose to THB 10,232 million or by 14.2% from 3Q22. For 9M23, PPOP was at THB 29,733 million, showing 12.1% YoY increase.
In 3Q23, the Bank set aside provisions of THB 4,354 million, relatively stable or decreasing slightly by 0.2% from the previous year. For 9M23, provisions amounted to THB 12,874 million, a decrease of 5.0% from previous year. Overall, asset quality remained under control. This could be reflected by NPL ratio staying at 2.67%, a relatively low level while the risk buffer or NPL coverage ratio remained high at 144% level.
Lastly, on the capital adequacy, the preliminary CAR and Tier 1 remained robust at 20% and 16% at the end of 3Q23. These figures were among the top tiers in banking industry and well above the Bank of Thailand’s minimum requirement for D-SIBs banks at 12.0% and 9.5%, respectively.


ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต

เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange