กสิกรไทยเดินหน้าบุกเวียดนาม เปิดสาขาโฮจิมินห์ สู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค  มุ่งดิจิทัล แบงกิ้ง ขยายกำลังคนเพิ่ม ตั้งเป้า 5 ปีสร้างฐานลูกค้ารายย่อยกว่า 8 ล้านราย  

0
1171

กสิกรไทย มุ่งสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 เตรียมเดินหน้าบุกตลาดเวียดนามที่กำลังมาแรงอย่างเต็มที่ ยกระดับเปิดสาขาโฮจิมินห์ ศูนย์กลางทางการค้าการลงทุนของเวียดนาม เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน ให้บริการกับลูกค้าในเวียดนามผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์ม คาดปี 65 มียอดเงินฝาก 1,200 ล้านบาทและสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์ธนาคารดิจิทัลแห่งภูมิภาค ตั้งเป้า 5 ปี สร้างฐานลูกค้า 8 ล้านราย พร้อมเฟ้นหาทีมงานใหม่ และยกระดับการทำงานรองรับการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดเวียดนาม กว่า 500 อัตรา

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกสิกรไทยเปิดให้บริการแก่ลูกค้าเวียดนามผ่านสำนักงานผู้แทน 2 แห่ง ณ กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์มาตั้งแต่ปี 2558 จึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจประเทศเวียดนาม ที่กำลังถูกจับตามองในฐานะศูนย์กลางการลงทุนของบริษัทชั้นนำของโลก และบริษัทจากประเทศไทย โดยเวียดนามเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวก แม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้มาตรการล็อกดาวน์อาจกระทบเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ไปบ้าง แต่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ซึ่งนำไปสู่การส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ถูกกระทบมากนัก จึงเป็นปัจจัยหนุนช่วยภาคเศรษฐกิจอื่นของเวียดนาม และยังมีการประเมินว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้มีแนวโน้มจะเติบโตเกิน 5% ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งเอเชียและตะวันตกเข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ธนาคารกสิกรไทยจึงได้ยกระดับการให้บริการจากสำนักผู้แทนนครโฮจิมินห์ เป็นธนาคารกสิกรไทย สาขานครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นสาขาแรกในประเทศเวียดนาม และเป็นสาขาที่ 10 ในต่างประเทศ เปิดตัวสาขาอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ภายใต้พันธกิจของการเป็นธนาคารระดับภูมิภาคที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ (Regional Bank of Choice) เพื่อยกระดับศักยภาพของลูกค้าทุกกลุ่ม โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล แบงกิ้งที่พัฒนาใช้ในระดับภูมิภาคของธนาคาร (Regional Digital Banking) เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยตั้งเป้าผลประกอบการภายในปี 2565 มียอดเงินฝาก 1,200 ล้านบาทและสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท พร้อมคาดในอีก 5 ปีจะสามารถสร้างฐานลูกค้าในเวียดนามได้ถึง 8 ล้านคน 

ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้เฟ้นหาทีมงาน ขยายกำลังคนเพื่อบุกตลาดเวียดนามอย่างจริงจัง เปิดรับบุคลากรที่มีศักยภาพ หลากหลายทักษะมากกว่า 500 ตำแหน่ง ทั้งในประเทศไทยและทีมงานที่อยู่ประจำสาขานครโฮจิมินห์ พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาให้กับพนักงานปัจจุบัน ทั้งการรีสกิล ทักษะด้านภาษา เทคโนโลยี บวกกับวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง เพื่อเป็นการผนึกกำลังสร้างบริการทางการเงินให้พร้อมรับกับตลาดดิจิทัล และบริบทของธุรกิจในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

สำหรับการดำเนินธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย สาขานครโฮจิมินห์ ในช่วงแรกของการเปิดสาขา จะเน้นไปที่บริการสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่  (Corporate Lending) เจาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ในเวียดนาม (Local Large Corporate) โดยมุ่งไปที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต นิคมอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการค้าและอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค ให้บริการแก่บริษัทของไทย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ต้องการขยายธุรกิจไปเวียดนามเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ 

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีเป้าหมายขยายการให้บริการไปสู่ลูกค้ารายย่อยท้องถิ่นของประเทศเวียดนาม ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการผู้นำด้านดิจิทัล แบงกิ้ง และโมบาย แบงกิ้งของธนาคารกสิกรไทย ผ่านผลิตภัณฑ์เงินฝาก สินเชื่อบุคคล และร่วมมือกับเทคสตาร์ทอัพในท้องถิ่น ด้วยการร่วมลงทุนของ KVision เข้ามาช่วยในการให้พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ที่มีสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งต่างจากการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศ AEC+3 อื่น ๆ ที่จะเน้นให้บริการธุรกิจระหว่างประเทศเป็นหลัก โดยขณะนี้มีกลุ่มเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) ระดับโลกที่สนใจเข้ามาหารือในการเป็นพันธมิตรร่วมกับธนาคารเพื่อสร้างอีโคซีสเต็มของการขยายธุรกิจในเวียดนาม ทั้งยังจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสถาบันการเงิน (Unbank) และกลุ่มประชากรวัยทำงานที่มีโอกาสเติบโตได้อีกด้วย

ธนาคารกสิกรไทย พร้อมทยอยส่งมอบบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าเข้าสู่โลกของดิจิทัลแบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบผ่านสินเชื่อดิจิทัล โดยภายในปี 2565 ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อไว้ที่ 1,500 ล้านบาท จากลูกค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก 25,000 ราย ที่มาใช้บริการขอเงินกู้ (KBank Biz Loan) หรือร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการต่อยอดธุรกิจ 

อีกทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อหนุนศักยภาพทางธุรกิจในระดับภูมิภาคร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น เช่น การร่วมมือกับบริษัทฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีความเข้าใจในตลาดอย่างลึกซึ้ง เช่น IPOS VN., Haravan และ KiotViet ที่จะมาช่วยส่งมอบบริการได้ตรงใจลูกค้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึง Sendo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก เพื่อสร้างโซลูชั่นทางการเงินสำหรับผู้ค้าออนไลน์ ลูกค้าที่ใช้บริการกับพันธมิตรให้สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อทางธุรกิจได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วด้วยข้อมูลธุรกรรมจากพันธมิตร ลูกค้าสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนสินเชื่อได้สูงสุดถึง 36 เดือน วงเงินกู้สูงสุดถึง 100 ล้านดงเวียดนาม หรือประมาณ 150,000 บาท ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1.4% ต่อเดือน

นายพิพิธ กล่าวในตอนท้ายว่า การดำเนินธุรกิจธนาคารในเวียดนามไม่ได้เน้นธุรกรรมการเงินพื้นฐาน (Traditional Banking) เท่านั้น แต่ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของธนาคารในธุรกรรมการเงินยุคใหม่ที่เป็นดิจิทัล แบงกิ้ง (Disruptive Banking / Digital Banking) เพราะประชากรของเวียดนามเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีความคุ้นเคยและพร้อมในเทคโนโลยีดิจิทัล  ขณะเดียวกันดิจิทัล อีโคซิสเต็มในเวียดนามยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ Asset-Light Regional Digital Expansion ที่มุ่งเน้นรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยลงทุนและร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพในท้องถิ่น รวมถึงการให้สินเชื่อระหว่างประเทศแก่บริษัทในท้องถิ่นในเวียดนาม โดยอาศัยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์หลักของธนาคารกสิกรไทย ในการก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างสมบูรณ์แบบจะสามารถเชื่อมต่อการให้บริการผ่านเครือข่ายของธนาคารในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งการเป็นธนาคารท้องถิ่น สาขาของธนาคาร สำนักงานผู้แทน และสถาบันทางการเงินที่เป็นพันธมิตรของธนาคาร โดยปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีเครือข่ายการให้บริการในต่างประเทศในกลุ่มประเทศ AEC+3 และประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง และพันธมิตรกว่า 84 แห่งทั่วโลก มีฐานลูกค้าในภูมิภาคกว่า 1.85 ล้านคน และยังคงเดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องต่อไป

KBank strengthens its Vietnam presence with the inaugural opening of the Ho Chi Minh City Branch, setting its sights on becoming the Regional Digital Bank with more recruitment drive for expertise to keep pace with expansion to aim for more than 8 million retail customers within five years

Determined to become the Bank of AEC+3, KASIKORNBANK (KBank) has opened a branch in Ho Chi Minh City the trade and investment hub of Vietnamwith the aim of linking the trade and investment network within the ASEAN region. The move will upgrade the service provided to local customers via digital platforms in order to capitalize on abounding opportunities in the Vietnamese market. KBank has set targets of 1.2 billion Baht in deposits and 15 billion Baht in loans. Guided by the Regional Digital Banking strategy, KBank aims for a customer base of 8 million within the next five years, while also recruiting more than 500 digital savvy talents to join its workforce and boost its capabilities to accommodate its business expansion in Vietnam.

Mr. Pipit Aneaknithi, KBank President, said that KBank has served Vietnamese customers via its two representative offices in Hanoi and Ho Chi Minh City since 2015. Given its ample business opportunities and strong economy, all eyes are now on Vietnam as a center of investment for the worlds leading firms, including those from Thailand. Vietnam is the only ASEAN country that has enjoyed positive economic growth despite the COVID19 pandemic. However, the Vietnamese economy was somewhat affected by lockdown measures in the third quarter of this year. Overall, Vietnams economy has largely been driven by foreign direct investment (FDI) which remains quite resilient to the pandemic, thus being a boon to exports of major products such as mobile phones and other electronic equipment. Vietnams estimated GDP growth is set to be higher than 5 percent. As a result, Vietnam has continually attracted FDI from both Asian and Western countries

Under these circumstances, KBank has upgraded its representative office in Ho Chi Minh City to the status of an international branch. It is the first KBank branch in Vietnam, and its tenth overseas branch. On November 12, 2021, KBank Ho Chi Minh City branch (HCMC) officially opens its doors under the Regional Bank of Choice mission. The move aims to empower all customer groups through digital banking platforms in line with the Regional Digital Banking strategy so as to bolster the Banks competitive capabilities. By the end of 2022, the Bank has set targets for the deposits and loans of the HCMC branch at 1.2 billion Baht and 15 billion Baht, respectively. Along with this, its customer base in Vietnam is targeted to total 8 million within the next five years.

HCMC open branch page 1 from 3

As part of its effort to strengthen its presence in the Vietnamese market, KBank is now recruiting for more than 500 positions in Thailand and Ho Chi Minh City to acquire capable personnel with multiple skills. At the same time, the Bank has focused on employee development by bolstering their capabilities through language and technology reskilling. Along with this, the Bank will leverage its strong organizational culture to create financial services for a digital market in sync with the context of the regions fastchanging business environment

Business operations of KBank HCMC Branch during the initial phase will focus on corporate lending to Local Large Corporate customers (LLC), primarily to clients in the manufacturing, industrial estate, commercial estate, trading and consumer product sectors. The lending service will mainly be offered to Thai, Chinese, Japanese and South Korean companies wishing to expand their business in Vietnam for international trade and investment. Moreover, KBank HCMC Branch has a target to expand its service provision to local retail customers. This will be achieved by using KBank’s cutting-edge digital and mobile banking technologies to offer deposit and personal loan services. Through a joint investment of KVision, KBank HCMC Branch has teamed with local tech startups to assist in the development of services to specifically meet the needs of local customers, given the fact that the number of internet users in Vietnam amounts to 70 percent of the total population. Doing business in Vietnam, therefore, differs from that in the rest of AEC+3 where KBank emphasizes international business. Presently, world-class fintech companies have expressed interest in forming a partnership with KBank to build an ecosystem for future business expansion in Vietnam, tapping the unbanked customer and working-age population segments that are set to grow going forward. KBank is currently discussing this matter with such fintech firms. 

 KBank is scheduled to gradually offer digital banking services to allow customers to enter a full-fledged digital banking world via digital lending. A target has been set to extend 1.5 billion Baht in loans by 2022 to 25,000 customers wanting to apply for KBank Biz Loan, or online merchants in need of working capital for business expansion. Additionally, partnerships have been formed with e-commerce platforms, with the aim of enhancing KBank’s business potential in the region with local partners. These include large customer database companies which have a deep understanding of the market, namely IPOS VN., Haravan and KiotViet, which will help deliver services that precisely meet the customers’ needs, plus Sendo, a large e-commerce platform, which will help create financial service solutions for online merchants, thus allowing customers using services with such partners to have easier and faster access to business loans thanks to the transaction data made available by partners. Customers can choose a loan installment payment period of up to 36 months. The maximum loan limit offered is VND100 million, or 150,000 Baht, and the interest rate is only 1.4 percent per month.

Mr. Pipit added that KBanks business operations in Vietnam are not solely limited to traditional banking but should also expand business opportunities in this new era of financial transactions through the offering of disruptive/digital banking services, as the population of Vietnam includes a large number of youngergeneration people who are digitalsavvy and have technological readiness. At the same time, Vietnams digital ecosystem corresponds to the Banks assetlight regional digital expansion strategy which prioritizes business partnerships through investment and joint ventures with technological companies and local startups as well as the offering of crossborder financing to local businesses in Vietnam, taking advantage of the lower funding cost.

Under KBanks key strategy of becoming The Bank of AEC+3, KBank can connect its services through a myriad of channels under its network, including locally incorporated institutions, foreign branches, representative offices and financial institutions that are partnered with the Bank. At present, KBank has an overseas service network that spans 16 countries across AEC+3 and other regions, with more than 84 partners worldwide. With over 1.85 million customers in the region, KBank will continually strive to expand its customer base