หน้าแรก แท็ก สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนมิถุนายน 2565

แท็ก: สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนมิถุนายน 2565

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนมีนาคม 2566 V3 ​

​  ​• เศรษฐกิจโลกมีโอกาสเกิดภาวะถดถอยลดลงด้วยแรงสนับสนุนจากกิจกรรมเศรษฐกิจภาคบริการที่ขยายตัวได้ แต่กิจกรรมภาคการผลิตยังหดตัวต่อเนื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลักในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น เช่น จากกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว และการก่อสร้างโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังเติบโตได้จากภาคบริการเป็นหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ ส่งผลให้ตลาดกังวลต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมกิจกรรมในฝั่งภาคการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน สำหรับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคของจีนนั้นคาดว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 • การส่งออกของไทยมีแนวโน้มหดตัวต่ออีกระยะหนึ่ง สอดคล้องกับการส่งออกของคู่แข่งของไทยในภูมิภาค เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ที่มีทิศทางหดตัวเช่นเดียวกัน โดยได้รับผลกระทบจากกิจกรรมภาคการผลิตของโลกที่ยังอยู่ในภาวะหดตัว รวมถึงการปรับสมดุลระดับสินค้าคงคลังหลังจากความต้องการสินค้าที่ได้อานิสงส์จากโควิด-19...

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 V3​

​ • การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยดัชนีทางเศรษฐกิจของจีน ทั้งในฝั่งภาคการผลิตและภาคบริการกลับมาขยายตัวได้ในเดือนมกราคม โดยเฉพาะในภาคบริการที่สะท้อนการเดินทางท่องเที่ยวของชาวจีนในช่วงเทศกาลตรุษจีน สอดคล้องกับการประเมินล่าสุดของ IMF ที่คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ 5.2% ในปี 2566 สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 4.4% ขณะที่เศรษฐกิจโลกปี 2566 มีแนวโน้มเติบโต 2.9% สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 2.7% ทั้งนี้ คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวของไทย ประกอบกับกิจกรรมการผลิตที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจะช่วยพยุงภาคการส่งออกสินค้าในระยะข้างหน้า ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง • ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วและมากกว่าสกุลภูมิภาค...

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนมกราคม 2566 ​ ​Final

​ • การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดของจีนอาจจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ในช่วงต้นของการผ่อนคลาย มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตและการส่งออก ภาคการผลิตของจีนจึงหดตัวลงเพิ่มเติมในระยะนี้ อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่เข้มงวดคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนกลับมาเดินหน้าฟื้นตัวได้มากขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจจีนจะสามารถเติบโตได้ระดับ 5% ตามเป้าหมายได้ หลังจากที่เติบโตต่ำกว่าเป้าหมายในปีที่ผ่านมา จะช่วยพยุงไม่ให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมากเกินไปในภาวะที่ยังเผชิญแรงกดดันจากราคาพลังงานในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น • เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย 11.1 ล้านคนในปีที่ผ่านมา มากกว่าที่คาดการณ์ ช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องฟื้นตัวได้ โดยอัตราการเข้าพักโรงแรมในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่...

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนธันวาคม 2565 ​V6 ​

​ • การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีผลกระทบต่อการส่งออกอย่างชัดเจน กิจกรรมในภาคการผลิตของประเทศหลักไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ กลุ่ม EU ญี่ปุ่น และจีน ชะลอตัวลงพร้อมกันในเดือนพฤศจิกายน สอดคล้องกับการที่การส่งออกสินค้าหดตัวในประเทศที่มีความสำคัญด้านห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ส่วนการส่งออกของประเทศไทยก็หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือนในเดือนตุลาคม สำหรับในปี 2566 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากภาวะการเงินที่ตึงตัว และวิกฤตเงินเฟ้อ โดยเขตเศรษฐกิจหลักเผชิญความเสี่ยงที่แตกต่างกัน สหรัฐฯ เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวแต่อาจไม่เกิดภาวะถดถอยเนื่องจากตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง ขณะที่ยุโรปจะได้รับผลกระทบหนักสุดจากวิกฤตพลังงานจึงมีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่วนจีนที่กลับมาประสบปัญหาการแพร่ระบาดระลอกใหม่รวมถึงการต่อต้านมาตรการล็อกดาวน์อาจซ้ำเติมเศรษฐกิจจีนที่อยู่ในช่วงชะลอตัวจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ •...

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 ​ V6​

การค้าโลกมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสเผชิญภาวะถดถอยชัดเจนมากขึ้น โดยองค์การการค้าโลก (WTO) คาดว่าในปี 2566 การค้าโลกจะเติบโตได้ในระดับต่ำแค่ 1% จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ เนื่องจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงยาวนานและธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินเข้มงวด รวมถึงความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อตลาดพลังงานอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับประมาณการล่าสุดของ IMF ที่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของหลายประเทศ อีกทั้งโอกาสการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐและ Euro Zone ที่มีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า • ตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2566 ถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นไปทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวลงเช่นกัน...

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนตุลาคม 2565 ​ V5​​

เศรษฐกิจโลกชะลอตัวชัดเจนมากกว่าที่คาด จากผลกระทบของสงครามและปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะปัญหาจากการโจมตีท่อส่งและการระงับส่งก๊าซของรัสเซียซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อวิกฤตพลังงานและความเสี่ยงการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจจีนยังเผชิญข้อจำกัดจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานและการล็อกดาวน์ ขณะที่สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายแห่งเดินหน้าดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด สวนทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะ Fed ที่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลง ซึ่งมีแนวโน้มทำให้ภาพอุปสงค์ของโลกมีการชะลอตัวลง • อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มยืนอยู่ในระดับสูง แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาเรล แต่อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มยืนอยู่ในระดับสูง เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นจากเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังไม่สามารถลดลงได้มากนัก ขณะที่ค่าไฟฟ้ามีการปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย....

สรุปประเด็นแถลงข่าว ประจำเดือนมิถุนายน 2565

• ภาคการส่งออกไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง เศรษฐกิจโลกเผชิญ headwind จากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ความกังวลเกี่ยวกับอาหารขาดแคลน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การขาดแคลนสินค้าสำคัญใน supply chain ภาคอุตสาหกรรม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายธนาคารกลาง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่จีดีพีอาจจะขยายตัวเพียง 4.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ 5.5% ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและอาจจะกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี โดยมีสัญญาณเตือนจากตัวเลขการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่นในเดือนเม.ย. 2565 ที่หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่สำหรับภาพรวมการส่งออกเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกยังเติบโตได้อยู่ในระดับ 9.9%...

MOST POPULAR

ทรูมันนี่ จับมือ อาลีเพย์พลัส ฉลอง UEFA EURO 2024ชวนแฟนลูกหนังลุ้นชิงทริปบินลัดฟ้าชมรอบชิงชนะเลิศที่เยอรมนี เพียงร่วมสนุกง่าย ๆ ในแอปทรูมันนี่

ทรูมันนี่ ผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและการตลาดข้ามพรมแดนระดับโลกของแอนท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นพันธมิตรแพลตฟอร์มชำระเงินอย่างเป็นทางการและผู้สนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (UEFA European Football Championship 2024) หรือ ยูโร 2024 ที่ประเทศเยอรมนี ชวนแฟนลูกหนังลุ้นชิงทริปบินลัดฟ้าไปชมฟุตบอล ยูโร 2024 รอบชิงชนะเลิศที่ Olympiastadion...

HOT NEWS