Sustainable Thailand 2021   บทบาทของธนาคารกสิกรไทยในการขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน

0
1235

โดยคุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 เวลา 09.45 – 09.50 (ผ่านช่องทางออนไลน์

ธนาคารกสิกรไทยดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ โดยให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม

ด้วยธนาคารตระหนักดีว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความสำคัญต่อสถาบันการเงิน จึงเห็นว่าสถาบันการเงินต้องมีใบอนุญาต 2 ใบในการประกอบธุรกิจ คือ ใบอนุญาตการธนาคาร (Banking License) ซึ่งก็คือใบอนุญาตจากทางการเพื่อสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามกฎหมาย และใบอนุญาตทางสังคม (Social License) ซึ่งหมายถึงการได้รับการยอมรับจากสังคมในการดำเนินธุรกิจ และดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ธนาคารจึงต้องสร้างผลกำไรที่ยั่งยืน แม้บางครั้งอาจต้องเผชิญความยากลำบากในระยะสั้นเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว

ถ้าสังคมอยู่ไม่ได้ ธนาคารก็อยู่ไม่ได้ โดยเรื่องดังกล่าวไม่ใช่แค่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมแต่รวมถึงการให้การสนับสนุนแก่ประชาชนและชุมชนด้วยการสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินและการให้การช่วยเหลือทางการเงินในช่วงเวลาการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนี้และมีความเข้มแข็งที่จะดำเนินธุรกิจในช่วงหลังโควิด-19 ได้

นอกจากวิกฤตโควิด-19 แล้ว วาระเร่งด่วนสำคัญของโลกคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกรวน ซึ่งต้องการการจัดการอย่างทันท่วงทีและในวงกว้างเพื่อบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบ ทุกฝ่ายรวมทั้งธนาคารกสิกรไทยต่างเชื่อว่าความพยายามในระดับนานาชาติที่สอดคล้องกับความตกลงปารีสเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องการการประสานพลังเพื่อลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง 

การดำเนินการดังกล่าวต้องได้รับการสนับสนุนจากทางการ การสนับสนุนทางการเงิน และมาตรฐานที่เหมือนกันในแต่ละอุตสาหกรรมและตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ ขณะนี้บางประเทศและบางองค์กรได้ตั้งเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งในอนาคตก็จะมีอีกหลายประเทศและหลายหน่วยงานทั่วโลกที่จะเข้าร่วมปณิธานนี้ต่อไป

ในแวดวงธุรกิจการธนาคารไทย ได้รับการสนับสนุนจากทางการในหลายด้าน ซึ่งรวมถึงความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยในการกำหนดแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืน โดยการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ และการพัฒนานิยามการเงินสีเขียว (Green Taxonomy) หรือการจำแนกหมวดหมู่สำหรับกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยกระดับการเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 One Report ตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาธิบาล หรือ ESG

ดิฉันในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม (Chief Environmental Officer)ของธนาคารกสิกรไทย มีความมุ่งหวังให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้พิทักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคารและแนวโน้มด้านความยั่งยืนของโลก นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยร่วมผลักดันให้คนไทยพิทักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งต่อโลกใบนี้แก่เยาวชนให้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบ สมดุล และยั่งยืน

ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าร่วมลงนามรับ “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” ของสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินธุรกิจธนาคารอย่างยั่งยืนของโลก ซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมในยุทธศาสตร์ทางธุรกิจด้วย นอกจากนี้ธนาคารยังได้เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures หรือ TCFD) ทั้งในด้านความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน ธนาคารส่งเสริมให้ลูกค้าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้นรวมทั้งการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของภาคธุรกิจในขณะที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นสังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยธนาคารให้การสนับสนุนแก่ธุรกิจที่ยึดถือในหลักการเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (BCG) ตัวอย่างเช่น เราใช้เกณฑ์ ESG ตามความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Screening Tools) เป็นเครื่องมือในกระบวนการพิจารณาเครดิต  

ธนาคารกสิกรไทยได้จัดทำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เราได้รับการรับรองการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก่อตั้งเครือข่าย Carbon Markets Clubหรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต รวมทั้งเป็นสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ด้วย

ถึงแม้ว่าธนาคารจะดำเนินงานอย่างจริงจังในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ยังมีภารกิจที่จะทำได้อีกมาก ธนาคารกำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีความตั้งใจจริงที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงประสบความสำเร็จแล้วในบางเป้าหมาย ในขณะที่เราก็ยังต้องเร่งดำเนินงานให้เร็วขึ้นด้วย  

สุดท้ายนี้ นอกเหนือจาก “ทำสิ่งดีและทำอย่างดี” แล้ว เรายังต้อง “ทำมากขึ้น” อีกด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น แต่เป็นทุกฝ่ายในระบบนิเวศนี้ซึ่งรวมถึงภาคธุรกิจ หน่วยงานทางการและภาคประชาชนที่จะต้องร่วมมือกันและมีส่วนร่วมมากขึ้นเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เข้มแข็งและยั่งยืน

Sustainable Thailand 2021

A bank must earn both a banking license and a social license 

so it can support the economy, society and the environment 

by Doing Good, Doing Well, and Doing More

Khun Kattiya Indaravijaya, Chief Executive Officer, KASIKORNBANK, Thailand

Monday 27 September 2021 (Online Event)

KASIKORNBANK has conducted operations with a focus on responsibility to the economy, society, and environment for more than seven decades, and has operated business for the benefit of all stakeholders with good corporate governance, appropriate internal control systems, and risk management to ensure accuracy, transparency, and fairness. 

KBank recognizes that sustainable development is important to financial institutions, thus the need for two licenses to run a business. The first is a “Banking License” which is a regulatory license that allows us to legally operate business. The other is a “Social License” which allows us to operate in community. In order to care for all of our stakeholders, we have to create sustainable profits in the long-term. Thus, sometimes we have to make a trade-off between short-term pain and long-term gain.

To earn trust from the community is not only about environmental issues, but also about supporting people and the community we live in, with initiatives such as financial inclusion and financial aid during the COVID-19 crisis to help customers reimagine new ways to do business through a more sustainable lens. We aim to help customers weather this crisis and strengthen their capabilities for survival post COVID-19.  

Besides COVID-19, the urgent global agenda is climate change, which requires immediate and large-scale action to mitigate the worst impacts. Everyone, including those of us at KBank, believes that joining the global effort aligned with the Sustainable Development Goals and Paris Agreement is important and requires synchronized action. 

Action items include legislation supports, financial supports, and standards set for each industry and across value chains. Some nations and some organizations have already committed to a net-zero emissions target in the next 20-30 years, and more nations and more organizations globally will come to join in the future. 

In the Thai banking industry, we have many regulatory supports, including collaboration with the Bank of Thailand and the Thai Bankers’ Association in their Sustainable Banking Guidelines – Responsible Lending and their workings on green taxonomy. The Securities and Exchange Commission, Thailand, and the Stock Exchange of Thailand have also encouraged Thai listed companies to upgrade to the One Report disclosure towards environmental, social, and governance criteria.

I, as Chief Executive Officer and in the role of Chief Environmental Officer of KASIKORNBANK, aim for KBank to be an environmental steward towards a zero-carbon society in alignment with KBank’s strategy and global sustainability trends. Also, the Bank has encouraged the Thai people to take responsibility for stewardship of the environment, so that we will be handing the young generation a planet that will give them a better opportunity to live responsible, balanced, and sustainable lives. 

KBank has become a signatory to the UN Principles for Responsible Banking of the UNEP FI as comprehensive global frameworks for sustainable banking, guiding financial institutions to mainstream climate action in their business strategies.  We are also an official supporter of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures set to bring the disclosure of climate-related issues, including climate-related risks and opportunities, towards international standards.

We promote the transformation of businesses as Thailand transitions to a net zero carbon society through supporting businesses that adhere to the Bioeconomy, Circular Economy, and Green Economy (BCG) principles. For example, we have ESG Screening Tools in our credit underwriting processes.  

In our own operations, KBank has developed an Environmental Management System in order to run environmental operations more efficiently and effectively. We are a Carbon Neutral organization for the 4th consecutive year, have jointly established the Carbon Markets Club, and are a member of the Thailand Carbon Neutral Network. 

Although we have put a lot of effort in sustainable development, we know there is still much more we can do. Our policies are set up as a guideline for concrete actions to be taken. We have good intentions to make them happen and we have achieved some targets, but we need to speed up our execution. More concerned parties, like businesses, regulators, and consumers, must also be engaged and establish strong and sustainable ecosystem. 

My final words, in addition to ‘Do Good and Do Well,’ we need to ‘Do More.’ It is not just KASIKORNBANK, but all of us in the ecosystem, need to do more and more, and do it together.