ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ งวด 9 เดือน ปี 2566 จำนวน 1,736.3 ล้านบาท

0
314


• กำไรสุทธิ 1,736.3 ล้านบาท (-38.2% YoY)
• รายได้จากการดำเนินงานจำนวน 10,322.0 ล้านบาท (-3.6% YoY)
• รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 274.7 ล้านบาท (+3.9% YoY)
• เงินให้สินเชื่อสุทธิ 2.49 แสนล้านบาท (+6.0% จาก 31 ธ.ค.65)
• เงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ ผลิตภัณฑ์การเงิน) 2.98 แสนล้านบาท (+2.9% จาก 31 ธ.ค.65)
• อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อลดลงจาก 3.3% (31 ธ.ค.65) อยู่ที่ 3.2%

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 มีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 10,322.0 ล้านบาทลดลง 387.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2565 สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิร้อยละ 18.6 และรายได้อื่นร้อยละ 18.1 สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ 3.9 กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงร้อยละ 18.8 เป็นจำนวน 4,071.3 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.7 กำไรสุทธิลดลงจำนวน 1,075.2 ล้านบาทหรือร้อยละ 38.2 เป็นจำนวน 1,736.3 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเติบโตสูงกว่าการเติบโตของรายได้จากการดำเนินงาน ประกอบกับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 โดยเป็นการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักความระมัดระวังของธนาคารและเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่
เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานงวดเก้าเดือนปี 2566 และ 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 274.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 เป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุน สุทธิกับรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจำนวน 213.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.6 มาจากการลดลงของค่าธรรมเนียมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย รายได้อื่นลดลงจำนวน 449 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.1 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเงินลงทุนและกำไรสุทธิจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดเก้าเดือนปี 2566 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2565 เพิ่มขึ้นจำนวน 554.4 ล้านบาทหรือร้อยละ 9.7 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าเผื่อการด้อยค่าของทรัพย์สินรอการขายและค่าภาษีอากร ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต่อรายได้จากการดำเนินงานงวดเก้าเดือนปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 60.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2565 อยู่ที่ ร้อยละ 53.2
อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับงวดเก้าเดือนปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เป็นผลจากต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้น
วันที่ 30 กันยายน 2566 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 249.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 298.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากสิ้นปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 289.7 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.6 จากร้อยละ 81.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565

สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เป็นผลจากการที่กลุ่มธนาคารมีนโยบายการจัดการความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่รัดกุม มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับปรุงแนวทางในการเรียกเก็บหนี้จากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่มีอยู่ และการแก้ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 111.3 ลดลงจากสิ้นปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 114.6 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 8.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านบาท
เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 58.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 20.9 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.5

CIMB THAI posts net profit of THB 1,736.3 million for 9M2023

Summary

• Net profit of THB 1,736.3 million (-38.2% YoY)
• Operating income of THB 10,322.0 million (-3.6% YoY)
• Net interest income grew by THB 274.7 million (+3.9% YoY)
• Gross loans stood at THB 249.4 billion (+6.0% from 31 December 2022)
• Deposits stood at THB 298.2 billion (+2.9% from 31 December 2022)
• NPL ratio decreased from 3.3% (31 December 2022) to 3.2%

Mr. Paul Wong Chee Kin, President and Chief Executive Officer CIMB Thai Bank PCL commented on the unreviewed consolidated financial results for the nine months ended 30 September 2023 (9M2023).
CIMB Thai Group’s consolidated operating income decreased by THB 387.4 million or 3.6% year-on-year (“YoY”) to THB 10,322.0 million from 9M2022 mainly due to an 18.6% decline in net fee and service income and an 18.1% decline in other income, partially offset by a 3.9% growth in net interest income. Pre-provision operating profit decreased by 18.8% YoY to THB 4,071.3 million attributed to lower operating income and a 9.7% rise in operating expenses. Net profit was THB 1,075.2 million or 38.2% YoY lower at THB 1,736.3 million due to operating expenses growth exceeding operating income growth, coupled with a 26.5% increase in expected credit loss (ECL). The higher ECL was in line with the Bank’s prudent approach in view of the prevailing economic environment.

On a YoY basis, net interest income increased by THB 274.7 million or 3.9% mainly driven by loan expansion and an increase in interest income on investments. These were partially offset by lower net fee and service income of THB 213.1 million, or 18.6% YoY, largely attributed to lower fee income from insurance brokerage. Total other operating income decreased by THB 449 million or 18.1%, mainly from lower net gains on financial instruments measured at fair value through profit or loss, partially offset by higher gains on investment and gains on sale of non-performing loans.

Operating expenses increased by THB 554.4 million or 9.7%, mainly from higher impairment loss on properties for sale, as well as taxes and duties. This resulted in a higher cost to income ratio of 60.6% in 9M2023 compared to 53.2% in 9M2022.

Net interest margin (NIM) over earning assets stood at 2.6% in 9M2023, compared to 2.7% in 9M2022, arising from higher cost of funds.

As at 30 September 2023, total gross loans (inclusive of loans guaranteed by other banks and loans to financial institutions) stood at THB 249.4 billion, an increase of 6.0% from 31 December 2022. Deposits (inclusive of bills of exchange, debentures and selected structured deposit products) stood at THB 298.2 billion, an increase of 2.9% from THB 289.7 billion as at end December 2022. The modified loan to deposit ratio increased to 83.6% from 81.2% as at 31 December 2022.

Gross non-performing loans (“NPL”) stood at THB 8.5 billion, with a lower gross NPL ratio of 3.2% from 3.3% as at 31 December 2022. The improvement in the gross NPL ratio is reflective of CIMB Thai Group’s stringent credit risk underwriting, effective risk management policies, improvement in loan collection processes and the continued management of the Bank’s NPLs.

CIMB Thai Group’s loan loss coverage ratio as at 30 September 2023 stood at 111.3% from 114.6% at the end of December 2022. Total allowance for expected credit losses stood at THB 8.8 billion, THB 1.5 billion over the Bank of Thailand’s reserve requirements.

Total consolidated capital funds as at 30 September 2023 stood at THB 58.3 billion. The BIS ratio stood at 20.9%, of which 15.5% comprised Tier-1-capital.