ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ 9 เดือน ปี 2565 กำไร 32,579 ล้านบาท

0
764

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เติบโตต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ระดับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมยังคงมีความแตกต่างกัน และการส่งออกเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ส่วนในช่วงที่เหลือของปี 2565 แม้จะมีแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว แต่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายนำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป รวมถึงสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจจีนซึ่งมีผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญของตลาดท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ คงต้องติดตามผลกระทบจากการขยับสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในประเทศด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ธนาคารกสิกรไทยและบริษัทย่อย เดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการใหม่ ๆ รวมทั้งการผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3 ในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ให้กับประชาชนในวงกว้าง ให้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนและสภาพคล่อง และใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของธนาคาร ส่งเสริมให้ธุรกิจลูกค้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอบรับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับงวด 9 เดือน ปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 32,579 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 4,428 ล้านบาท หรือ 15.73% หลัก ๆ เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 8,261 ล้านบาท หรือ 9.32% จากรายได้ดอกเบี้ย เงินให้สินเชื่อซึ่งยังคงเป็นไปตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ในกลุ่มลูกค้าบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.26% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 5,228 ล้านบาท หรือ 16.22% ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ตามภาวะตลาดของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นการลงทุนตามธุรกิจปกติของบริษัทย่อย และการลดลงของรายได้สุทธิจากการรับประกันภัย สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 3,145 ล้านบาท หรือ 6.22% หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ทำร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ค่าใช้จ่ายพนักงาน และค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ลดลงเพียงเล็กน้อยจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยยังเป็นการตั้งสำรองฯ ในระดับที่สูงตามหลักความระมัดระวังที่ได้พิจารณาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยจะยังคงประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเติบโตของสินเชื่อใหม่ตามตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร รวมทั้งความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 2565 เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565
ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2565 จำนวน 10,574 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 220 ล้านบาท หรือ 2.04% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 1,076 ล้านบาท หรือ 3.36% ส่วนใหญ่จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อนอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 852 ล้านบาท หรือ 8.97% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลง ในขณะที่การปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 181 ล้านบาท หรือ 1.00% ส่วนใหญ่เกิดจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณธุรกิจ และค่าใช้จ่ายพนักงาน ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 43.73% รวมทั้งธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,229,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จำนวน 126,396 ล้านบาท หรือ 3.08% โดยหลักเป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อสุทธิตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธนาคารได้ดำเนินการเชิงรุกในการดูแลลูกค้า และเพิ่มความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องซึ่งจะเป็นกำลังขับเคลื่อนการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.07% โดยอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ 148.74% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสม และสะท้อนความสามาถในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 อยู่ที่ 19.19% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 17.21%

KASIKORNBANK announced the nine-month period of 2022 net profit of Baht 32,579 Million
Ms. Kattiya Indaravijaya, Chief Executive Officer of KASIKORNBANK, said the Thai economy continued to grow in the third quarter of 2022, led by a recovery of the tourism sector and domestic spending. However, the recovery of each industry remained uneven, and the export sector showed signs of slowdown. As for the remainder of this year, the Thai economy will likely be supported by the ongoing tourism recovery, but growth may remain in a limited range amid a weaker global economic outlook in the midst of monetary policy tightening led by the Federal Reserve, the persistent Russia-Ukraine conflict that has put pressure on the European economy, and fragile growth prospects in China that could hamper the tourism sector recovery as Chinese tourists are the main source of income for the industry. Other factors to monitor include higher production costs, inflationary pressures, and domestic interest rates. However, KBank and its subsidiaries have made a strategic move through using new technology and processes including synergy with business partners and become the Regional Digital Bank of the new era in AEC+3 region to boost access to financial services in the commercial banking system among a broader range of the public, that can help them to get capital and liquidity support and benefit from banking products and services to encourage continuous growth in customer business in order to align with the upcoming business opportunities.
Operating performance for the nine-month period of 2022 compared with the nine-month period of 2021,
KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 32,579 Million, an increase of Baht 4,428 Million or 15.73% over the same period of 2021 mainly due to an increase of net interest income by Baht 8,261 Million or 9.32% from interest income from loans to customers according to growth of new lending in retail and SME business customers with focus more on offering of lending via digital channels along with using data for lending analysis, which is in line with the Bank’s strategic direction, NIM stood at 3.26%. While non – interest income decreased by Baht 5,228 Million or 16.22%, mainly due to the mark to market of financial assets according to market condition which is the normal investment business of subsidiary and decrease in net premiums earned – net. Other operating expenses increased by Baht 3,145 Million or 6.22%, mainly due to marketing expenses collaborated with business partners, employee expenses and IT related expenses in order to support customers’ needs. Moreover, KBank and its subsidiaries set aside slightly lower expected credit loss from the same period of 2021, that was in high level with prudent consideration on economic factors. However, KBank and its subsidiaries still closely assess the situation and continuously prepare to support growth of new lending in line with the Bank’s business direction and economic uncertainties.
Operating performance for the third quarter of 2022 compared with the second quarter of 2022,
KBank and its subsidiaries reported net profit for the third quarter of 2022 amounting to Baht 10,574 Million, a decrease from the preceding quarter of Baht 220 Million or 2.04%. Net interest income increased by Baht 1,076 Million or 3.36% mainly due to interest income from loans to customers. Non – interest income decreased by Baht 852 Million or 8.97% mainly due to net premiums earned – net decreased, while the mark to market of financial assets increased according to market condition. Other operating expenses slightly increased by Baht 181 Million or 1.00% mainly due to increase in marketing expenses in line with increase in revenue according to business volume and employee expenses, resulting in the cost to income ratio that stood at 43.73% in this quarter. Moreover, KBank and its subsidiaries set aside expected credit loss that was approximate to the preceding quarter.
As of 30 September 2022, KBank and its subsidiaries’ total assets were Baht 4,229,795 Million, an increase of Baht 126,396 Million or 3.08% over the end of 2021. The majority came from net loans growth in line with the Bank’s business direction and in accordance with the economy. Moreover, KBank has proactively embarked in take care of customers and increase expertise in the effectiveness of non-performing loans management. This is to support customers to have a better financial status and able to operate their businesses continuously, which will be driver for the overall economic recovery. NPL gross to total loans stood at 3.07% and coverage ratio stood at 148.74% that was suitable level and reflects ability to manage asset quality. In addition, as of 30 September 2022, KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE’s Capital Adequacy Ratio (CAR) according to the Basel III Accord was 19.19%, with a Tier 1 Capital ratio of 17.21%.