กรุงศรีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 2565 จำนวน 15.25 พันล้านบาทชูศักยภาพการบริหารจัดการความเสี่ยงและการบริหารต้นทุนเชิงรุก

0
1382

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2565 มีกำไรสุทธิจำนวน 15.25 พันล้านบาท เติบโต 18.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ตอกย้ำกลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ

จากสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น กอปรกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินให้สินเชื่อรวมของกรุงศรีเติบโตได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจที่ 3.1% ในครึ่งแรกของปี 2565 โดยมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ อันประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเติบโตขึ้น 5.0% และ 5.2% ตามลำดับ นอกจากนี้ การบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเชิงรุกของธนาคารยังส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.36% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565

สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินที่สำคัญสำหรับครึ่งปีแรก:
• กำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จำนวน 15,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.6% หรือจำนวน 2,390 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ
• หากรวมรายการพิเศษจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) (เงินติดล้อ) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 กำไรสุทธิลดลง 27.5% หรือจำนวน 5,796 ล้านบาท
• เงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 3.1% หรือจำนวน 58,344 ล้านบาท จากสิ้นปี 2564 จากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ 5.0% และ 5.2% ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ
• เงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 2.2% หรือจำนวน 39,873 ล้านบาท จากสิ้นปี 2564 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์
• ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 3.36% จาก 3.08% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 โดยเป็นผลมาจากการเติบโตของเงินให้สินเชื่อและการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน
เชิงรุก โดยเฉพาะกลยุทธ์การระดมเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์และจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (CASA)
• รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการดำเนินงานตามปกติ ลดลงจำนวน 616 ล้านบาท หรือ 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2564 หากรวมรายการพิเศษจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของเงินติดล้อในปีก่อนหน้า รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 11,343 ล้านบาท หรือ 40.8%
• อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ จากการดำเนินงานตามปกติปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 42.9% จาก 43.4% ในครึ่งแรกของปี 2564 หากไม่รวมรายการพิเศษจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นของเงินติดล้อ
• อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 2.11% เมื่อเทียบกับ 2.20% ณ สิ้นปี 2564
• อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับสูงที่ 189.2% จาก 184.2% ณ สิ้นปี 2564 จากนโยบายการตั้งสำรองด้วยความรอบคอบระมัดระวังของกรุงศรีที่ยึดถือแนวปฏิบัติการตั้งเงินสำรองรวมในระดับสูง
• อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) อยู่ที่ 17.59% เทียบกับ 18.53%
ณ สิ้นปี 2564

นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การเติบโตของเงินให้สินเชื่อรวมในครึ่งปีแรกเป็นไปอย่างทั่วถึงในลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจ โดยได้รับปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่แข็งแกร่งขึ้น แม้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มผลิตภาพในการดำเนินงานมากขึ้น”

“ท่ามกลางทิศทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีความผันผวนและไม่แน่นอน เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ยังมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยง แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคท่องเที่ยวจะได้อานิสงส์จากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการยกเลิกข้อจำกัดเพื่อควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ ทั้งนี้ แนวโน้มการปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติ (Monetary Normalization) เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ไตรมาสสามของปีนี้ อนึ่ง กรุงศรีคาดว่าเงินให้สินเชื่อรวมของธนาคารจะเติบโตได้ตามขอบบนของกรอบเป้าหมายที่ 3-5% ภายใต้สมมติฐานการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ 3.1% ในปีนี้”

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 กรุงศรี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบเศรษฐกิจไทยจากมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินรับฝาก และเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ
(D-SIB) มีสินเชื่อรวม 1.95 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.82 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.6 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ที่ 292.34 พันล้านบาท หรือเทียบเท่า 17.59% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นของเจ้าของคิดเป็น 12.82%

Krungsri posts first-half 2022 net profit of 15.25 billion baht,
underlining proactive risk management and cost management rigors

Bangkok (20 July 2022) — Krungsri (Bank of Ayudhya PCL and its business units) reports 15.25 billion baht in net profit for the first half of 2022, an increase of 18.6% over-year, mainly driven by lowered expected credit loss underscoring solid asset quality as well as the Bank’s effective funding cost strategy resulting in higher net interest income.

Improved operating environment together with business and household sentiments helped boost lending as Krungsri delivered broad-based loan growth at 3.1% in 1H/22, across customer segments. The commercial lending continued to be the key growth engine with an increase in corporate and SME loans of 5.0% and 5.2%, respectively. This, coupled with proactive management of funding cost, contributed to Krungsri’s improved net interest margin (NIM) at 3.36%, in 1H/22.

Highlights of Krungsri’s consolidated first-half performance:
• Net profit: Recorded at 15,252 million baht for 1H/22, on a normalized basis, representing an increase of 18.6%, or 2,390 million baht from 1H/21, driven mainly by lowered expected credit losses, and higher net interest income.
• Incorporating an extraordinary gain on investments from the sales of shares in Ngern Tid Lor Public Company Limited (TIDLOR) in 1H/21, net profit decreased by 27.5%, or 5,796 million baht.
• Loans: Increased by 3.1%, or 58,344 million baht from the end of 2021, driven mainly by an increase in corporate and SME loans of 5.0% and 5.2%, respectively, thanks to improved business sentiment and sustained domestic demand recovery.
• Deposits: Increased by 2.2%, or 39,873 million baht, from the end of 2021, largely driven by growth in savings deposits.
• Net interest margin (NIM): Improved to 3.36% from 3.08% in 1H/21, boosted by the key drivers of strong loan growth together with the Bank’s proactive management of funding cost, especially the focused mobilization of current and savings deposits (CASA).
• Non-interest income: Decreased by 616 million baht, or 3.6%, from 1H/21, on a normalized basis, while decreasing by 11,343 million baht, or 40.8%, when incorporating the extraordinary gains on investment from the TIDLOR transaction recorded in 1H/21.
• Cost to income ratio: Improved to 42.9% from the normalized cost to income ratio at 43.4% in 1H/21, excluding the extraordinary gains from the TIDLOR transaction.
• Non-performing loan (NPL) ratio: Improved to 2.11%, compared to 2.20% at the end of 2021.
• Coverage ratio: Elevated to 189.2%, improving from 184.2% at the end of 2021, due to Krungsri’s prudential provision policy, adopting a conservative approach of loan loss reserves.
• Capital adequacy ratio (Bank only): Recorded at 17.59%, compared to 18.53% at the end of 2021.

Krungsri President and Chief Executive Officer Mr. Seiichiro Akita, said “The loan growth for the first half was broad-based encompassing all customer segments supported by improvements in both business and household sentiments. Notwithstanding the improvement in business activities during the period, the Bank continues to focus on effective cost management and productivity improvement.”

“Amidst the uncertainty and volatility of global economic and financial outlook, the Thai economy is expected to face downside risks in the second half of 2022, even though domestic economic activity and the tourism sector could benefit from the lifting of COVID-19 containment measures and international travel restrictions. With headline inflation remaining elevated, monetary normalization could result in gradual hikes of policy interest rate commencing in 3Q/22. Krungsri maintains our loan growth outlook at the upper end of the target range of 3 – 5% based on the economic growth forecast at 3.1% for the year.”

As of 30 June 2022, Krungsri, Thailand’s fifth largest bank in terms of assets, loans and deposits, and one of Thailand’s Domestic Systemically Important Banks (D-SIBs), reported 1.95 trillion baht in loans, 1.82 trillion baht in deposits, and 2.6 trillion baht in total assets. Krungsri’s capital (Bank only) was strong at 292.34 billion baht, equivalent to 17.59% of risk-weighted assets, with 12.82% in common equity tier 1 capital.