ปตท.สผ. ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 8 ส่งเสริมเยาวชนร่วมอนุรักษ์ทะเลไทย

0
743

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ประกาศผลการตัดสินและพิธีมอบรางวัลการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (The 2nd Young Ocean for Life Innovation Challenge) ภายใต้แนวคิด “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life)

ในโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 8 รวมมูลค่า 900,000 บาท จากการคัดเลือกจาก 79 ผลงานของนิสิตและนักศึกษาระดับ ปวส. และปริญญาตรี จำนวน 300 คน จาก 27 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยมี นางสาวบุษบรรณ จีนเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นประธานในพิธี และได้รับเกียรติจาก นายไพรัตน์ สุทธิพล ผู้อำนวยการกองจัดการชุมชนชายฝั่งและเครือข่าย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ คุณภาคภูมิ เกรียงโกมล Robotics Team Lead บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้แทน ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ และนายสิทธิชัย จินะมอย นักวิจัยอิสระ ผู้แทน ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที่ปรึกษากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงาน

สำหรับผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (The 2nd Young Ocean for Life Innovation challenge) รางวัลรวมมูลค่า 900,000 บาท มีดังนี้
หัวข้อ Protect
• รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน นวัตกรรมทุ่นดักจับขยะอัจฉริยะบริเวณปากคลองเพื่อสกัดขยะไหลลงสู่ทะเล และเรือสามารถผ่านได้ (Innovation of intelligent garbage traps at the estuary for extracting the garbage flowing into the sea and ships can pass through) ทีม THE GOLDEN MERMAIDS จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับเงินรางวัล 130,000 บาท และเงินรางวัลสำหรับนำผลงานนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอด 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน เครื่องดูดไมโครพลาสติก (Microplastic Catcher)
ทีม JTP จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน หุ่นยนต์สำรวจและช่วยกำจัดอุปกรณ์ล่าสัตว์น้ำที่ถูกทิ้งร้างติดใต้ท้องทะเลผ่านระบบควบคุมขนาดพกพาได้ (The Robot to Search and Help Eliminate Ghost Fishing Gear through a Portable Control System ) ทีม SeaMaj7 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
• ผลงาน การตรวจสอบขยะชายหาดโดยการตีความอัตโนมัติของภาพถ่ายทางอากาศไร้คนขับ (Monitoring of beach litter by automatic interpretation of unmanned aerial vehicle images)
ทีม NSC จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• ผลงานทุ่นตรวจการณ์อัจฉริยะ (Smart Surveillance Buoy) ทีม NAMI จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

หัวข้อ Preserve
• รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานกล่องฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล: เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน (Seagrass bed recolonization box for coastal restoration and carbon sequestration) ทีม Blue 16 จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเงินรางวัล 130,000 บาท และเงินรางวัลสำหรับนำผลงานนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอด 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานระบบปลูกหญ้าอัจฉริยะแก้ปัญหาแพลงก์ตอนบลูมและลดปริมาณไมโครพลาสติก (The Smart Seagrass Planting and Purifier-Water System) ทีม THE PURIFIER จากมหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงานปกรณ์ไข่เต่า (Eggxist) ทีม Merleco จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
• ผลงาน การพัฒนาเทคโนโลยียึดติด satellite tag ยางพารา เพื่อศึกษาพฤติกรรมเต่าทะเลในช่วง The Lost Year (The Lost Year Technology Development for Bonding Satellite tags with Adhesive Rubber Material to study the behavior of Neonate sea turtles) ทีม STORMY จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• ผลงาน การสร้างอวัยวะเทียมให้สัตว์ทะเลหายากด้วยเครื่องพิมพ์ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกแบบ 3 มิติ (Artificial organ for aqatic endanger species form Thermoplastic Natural Rubber 3D printing) ทีม A.O.A จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

หัวข้อ Provide
• รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเพื่อนประมง (Fisherman’s friend) ทีม Sea the future จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเงินรางวัล 130,000 บาท และเงินรางวัลสำหรับนำผลงานนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอด 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานการพัฒนาเครื่องมืออิเคจิเมะ (Ikejime) เพื่อยกระดับการเก็บรักษาปลาไทย (Ikejime Tool Development To Enhance Thai Fish Preservation) ทีม Fish Exclusive จากมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรังสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงานเครื่องคัดขนาดปลาความแม่นยำสูงระบบอัตโนมัติ (Automatic high precision fish grading machine) ทีม SRTC NEW GEN จากวิทยาลัยเทคนิค
สุราษฎร์ธานี ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
• ผลงาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสริมคุณค่าทางโภชนาการจากเปลือกกุ้ง (Nutrient rich instant noodle fortified with shrimp shells) ทีม Shrimpney จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
• ผลงาน การควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยด้วยไคโตซาน จากของเสียและเปลือกสัตว์ทะเล (Control of Fertilizer Release by Sea-waste based Chitosan) ทีม TNB Class จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร
นางสาวบุษบรรณ กล่าวว่า โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 8 จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และส่งเสริมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทย ด้วยกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ใน 3 หัวข้อ ได้แก่ Protect: การปกป้อง ท้องทะเลจากภัยคุกคามต่าง ๆ Preserve: การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ Provide: การสร้างโอกาสเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กิจกรรมนี้ถือเป็นเวทีให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ช่วยอนุรักษ์ท้องทะเลไทยอย่างอย่างยั่งยืน และพร้อมเป็นนักอนุรักษ์และ นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
ภายในงาน ยังจัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ Ocean for Life : Ocean of Happiness โดย ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย น้ำตาล – พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ นางเอกสาวหัวใจรักษ์โลก ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน และให้มุมมองด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยย นอกจากนี้ ได้จัดแสดงนิทรรศการ “Ocean for Life” และผลงานนวัตกรรมจากการประกวด ครั้งที่ 1 การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปจากชุมชน ภายใต้โครงการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลซึ่ง ปตท.สผ. ให้การสนับสนุน รวมทั้งการแสดงดนตรีจากกลุ่มเยาวชนหัวใจสีเขียว
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “Ocean for Life” และร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 7 พฤศจิกายน 2565 ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารได้ที่ www.facebook.com/pttepcsr
****************************
เกี่ยวกับโครงการ PTTEP Teenergy
ปตท.สผ. ได้จัด โครงการ PTTEP Teenergy ขึ้นตั้งแต่ปี 2557 โดยคัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวม 6 รุ่น จำนวน 880 คน จากกว่า 350 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ โดยสร้างโครงการต่อยอดให้กับชุมชนรวม กว่า 100 โครงการ
ในปี 2564 ปตท.สผ. ปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับ กลยุทธ์ “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for life) โดยจัด (1) ประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล “Young Ocean for Life Innovation Challenge” (2) การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “Ocean for Life Logo Contest” สำหรับนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ถึง ระดับปริญญาตรี (3) กิจกรรมเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์ และสำหรับในปีที่ 8 นี้ เพื่อต่อยอดความสำเร็จจากครั้งที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้จัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 (PTTEP Teenergy: The 2nd Young Ocean for Life Innovation Challenge) ภายใต้แนวคิด Ocean for Life : Ocean of Happiness ติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/pttepcsr
Disclaimer

The information, statements, forecasts and projections contained herein reflect the Company’s current views with respect to future events and financial performance. These views are based on assumptions subject to various risks. No assurance is given that these future events will occur, or that the Company’s future assumptions are correct. Actual results may differ materially from those projected.