แท็ก: ศูนย์วิจัยศุภาลัย
แนวโน้มการปรับราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม
ฝ่ายวิจัยศุภาลัยได้ตรวจสอบราคาที่ต่ำที่สุดของบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ของโครงการที่เปิดใหม่แต่ละโครงการ ในปี 2560 และ 2561 แล้วทำการหาค่าเฉลี่ยของราคาบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมที่ต่ำสุดของแต่ละโครงการในแต่ละโซน รวม 14 โซน และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยนั้นๆ ของแต่ละโซนระหว่างปี 2560 และ2561 ว่าราคาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
การใช้ราคาที่ดิน หรือราคาที่ดินพร้อมบ้านที่เปิดใหม่เป็นตัวชี้ภาวะบ้านและที่ดินที่ใกล้เคียงกับภาวะตลาดมากที่สุด
ตารางที่ 1 การเก็บตัวอย่างราคาที่ดิน 12 โซน ในกรุงเทพฯและปริมณฑลพบว่า ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ปี...
พฤติกรรมผู้บริโภคปี 2018 โดย ศูนย์วิจัยศุภาลัย
การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ในแต่ละช่วงวัยและแต่ละระดับรายได้ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน โดยสอบถามจากความถี่ในการซื้อสินค้าในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้
สินค้าที่ซื้อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จะเป็นสินค้าที่มีราคาต่ำ นั่นคือ สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น น้ำอัดลม แปรงสีฟัน ขนม เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก(เตารีด หม้อหุงข้าว ไดร์เป่าผม เป็นต้น) และเสื้อผ้า ...
“บริสเบน เมืองศักยภาพสำหรับการลงทุน” โดย กฤษนันท์ ทิพย์กำจรวงศ์ ศูนย์วิจัยศุภาลัย
ขณะนี้เศรษฐกิจของรัฐควีนส์แลนด์กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการฟื้นตัวหลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำจากเหตุการณ์ Mining boom.ในไตรมาสที่สามของปี 2017 อุปสงค์ของรัฐควีนส์แลนด์เพิ่มขึ้น 2.7%ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่มีการการเติบโตถึง 5 ไตรมาสติดต่อกัน
การสำรวจของ โจนส์ แลง ลาซาลล์ (JLL) พบว่า เศรษฐกิจของรัฐควีนส์แลนด์เติบโตขึ้น3.8% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องถึง4 ปีข้างหน้า จากปีที่แล้วเติบโตเพียง 0.2% เท่านั้น รวมถึงมีการจ้างงานของรัฐควีนส์แลนด์เพิ่มขึ้น 4.1%...
Foreign Exchange Reserves and Capital Repatriation โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม ...
สิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศในประเทศใดประเทศหนึ่งมีความห่วงใยก็คือการนำเงินลงทุนกลับประเทศ (Capital Repatriation) ภายหลังการลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว แต่ว่าปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ รัฐบาลของประเทศนั้นอาจไม่มีเงินสำรองระหว่างประเทศ (Foreign Exchange Reserves) เพียงพอให้นักลงทุนเปลี่ยนจากเงินตราสกุลท้องถิ่นเป็นเงินตราสกุลระหว่างประเทศเพื่อนำกลับประเทศของตน
ตัวแปรที่อาจใช้เป็นตัวชี้ความเสี่ยงที่ว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศให้นักลงทุนนำกลับประเทศได้หรือไม่ ก็คือ ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่จะต้อง 1) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ 2) ไม่มีความผันผวน
ในที่นี้เราใช้ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศคิดเป็นจำนวนเดือนของสินค้าเข้าซึ่งเป็นตัวชี้ขนาดเศรษฐกิจของประเทศนั้น เนื่องจากบางประเทศอาจมีเงินสำรองมากแต่ก็ต้องใช้จ่ายมากเช่นเดียวกัน ผลที่ได้แสดงไว้ในรูปกราฟเพื่อแสดงการเปรีบเทียบศักยภาพของประเทศไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา พม่า และเวียดนาม
รูปกราฟแสดงว่า พม่าและเวียดนามมีความเสี่ยงสูงที่นักลงทุนอาจไม่สามารถนำเงินลงทุนกลับประเทศได้ เนื่องจากความผันผวนของปริมาณเงินสำรองเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศที่ต้องใช้...