ในโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน เราต่างวิ่งตามกระแส และใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนแทบไม่มีเวลาได้หยุดฟังเสียงของหัวใจตัวเอง เทคโนโลยีมากมายถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความสะดวกสบาย จนบางครั้งก็เกินความจำเป็น ขณะเดียวกัน เรากลับลืมไปว่าหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตคือการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ หรือที่เรียกว่า Healthspan
การมี “อายุยืน” (Lifespan) คือการมีชีวิตที่ยาวนาน แต่การมี “ช่วงเวลาที่ยืนยาวพร้อมสุขภาพดี” (Healthspan) ต่างหาก ที่ทำให้แต่ละวัน “มีความหมาย”
บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและหน่วยงานการศึกษา ได้แก่ มูลนิธิแสงสิทธิการ (เพื่อคุณภาพชีวิต), สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย (สครท.), ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุข และวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอร่วมเป็นพลังเล็ก ๆ ในการต่อยอดแนวคิด Healthspan ให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ผ่าน “โครงการปันสุข” ที่ไม่ได้เพียงมุ่งเน้นการลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน หากแต่เป็นการเปิดประตูสู่ “ขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญา” ที่บรรพบุรุษได้ฝากไว้ในรูปแบบวิถีชีวิตเรียบง่าย สมดุล และมีความสุข โครงการนี้ได้เชิญชวนตัวแทนนักธุรกิจแอมเวย์ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินทางไปร่วมค้นหา “คำตอบของการมีชีวิตที่ดี” ผ่านการใช้เวลาอยู่กับ 3 ชุมชนต้นแบบ ด้วยแนวคิดการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายแต่บาลานซ์ 4 ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่มาจากแนวคิด Blue Zones ของ Dan Buettner นักสำรวจจาก National Geographic ผู้ค้นพบแหล่งชุมชนอายุยืน 5 แห่งในโลก
Move Naturally – ร่างกายที่แข็งแรง ไม่ได้มาจากการออกกำลังกายตามสูตร แต่คือการขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอจากวิถีชีวิตจริงผู้สูงวัยในชุมชนนี้ยังคงทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ เก็บของป่า ด้วยแรงกายที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสุขทุกก้าวย่างในแต่ละวันจึงเป็นเหมือนการดูแลสุขภาพไปพร้อมกับการใช้ชีวิต
Eat Wisely – ในชุมชนแห่งนี้ คุณลุงชาวกะเหรี่ยงเลือกวัตถุดิบจากธรรมชาติรอบตัว ไก่ที่เลี้ยงเองด้วยความเอาใจใส่ พืชผักสมุนไพรที่เก็บสดจากป่า ทุกขั้นตอนสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รู้จัก “กินอย่างพอดี” และ “กินอย่างมีความหมาย” เพราะสำหรับพวกเขา อาหารไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติ แต่คือการเชื่อมโยงระหว่างชีวิตคนและธรรมชาติ

Connect– ความสัมพันธ์ของผู้คนทั้ง 3 ตำบลก็ไม่ต่างกันมากนัก ชาวบ้านในชุมชนต่างก็มีกิจกรรมไปมาหาสู่และร่วมวิถีประเพณีท้องถิ่นกัน ผู้เฒ่าผู้แก่ยังคงเป็นศูนย์รวมของครอบครัว ทุกคำแนะนำไม่ได้อยู่ในหนังสือ แต่ซึมซับจากการใช้ชีวิตร่วมกัน การได้ใช้เวลาด้วยกันในแต่ละวัน แม้เพียงนั่งพูดคุย หรือทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ร่วมกัน เด็กเล็กวิ่งเล่นกันที่ลานบ้าน ผู้ใหญ่ดูแลสวนผักและปศุสัตว์ภายในบริเวณบ้าน การได้ถ่ายทอดพลังงานความสดใสของลูกหลานสู่ปู่ย่าตาทวด และการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่สู่เด็กน้อย นี่ไม่ใช่แค่ “ชุมชน” แต่มันคือ “ครอบครัวใหญ่” ที่ผูกพันกันด้วยหัวใจ

พวกเขาไม่จำเป็นต้องตามเทรนด์สุขภาพ เพราะที่นี่…วิถีชีวิตของพวกเขาคือสุขภาพเมื่อเราเข้าใจในสิ่งเหล่านี้…การมี Healthspan หรือชีวิตที่ยืนยาวพร้อมสุขภาพดี ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและสร้างสรรค์ให้กับตัวเองได้
การเดินทางของ “โครงการปันสุข”เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้านในครั้งนี้ ไม่ได้ทิ้งไว้แค่ในความทรงจำ แต่ถูกนำกลับมาสู่การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาต่อยอด โดยหลังจากกลับจากพื้นที่ โครงการปันสุขยังได้เปิดเวทีให้อาสาสมัครได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์เป็นไอเดียใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปเสริมจุดแข็งให้ 3 ตำบล หรือนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนของตนเอง เช่น การปรับวิถีชีวิตให้ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น การปลูกพืชผักปลอดสารพิษในพื้นที่เมือง การแปรรูปอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือแม้แต่การเลือกเดินเท้าในชุมชนแทนการใช้รถ เหล่านี้คือไอเดียง่าย ๆ ที่ไม่ต้องรอการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายใหญ่ แต่เริ่มได้ที่ตัวเราเอง



สำหรับอาสาสมัครที่ได้ร่วมเดินทางไปกับ “โครงการปันสุข” สิ่งที่ได้รับกลับมาไม่ได้มีเพียงแค่ความรู้เรื่องการดูแลตัวเอง แต่คือความเข้าใจชีวิตในแบบที่ไม่มีสอนในห้องเรียน วิถีของผู้เฒ่าในชุมชนที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ตื่นพร้อมแสงแรกของวัน กินจากสิ่งที่มี ปรุงจากสิ่งที่ปลูก และนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ใครหลายคนเริ่มทบทวนตัวเองอย่างเงียบ ๆ ว่าชีวิตที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย หลายคนเริ่มกลับมาสนใจเวลานอน อาหารจานบ้าน ๆ อยากกอดคนที่เรารัก และอยากใช้ชีวิตให้ช้าลง แต่มีความสุขมากขึ้น สำคัญที่สุดคือได้แรงบันดาลใจที่จะส่งต่อวิถีแบบนี้ให้คนรอบข้าง เพราะเมื่อเห็นรอยยิ้มของผู้คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายแล้ว ใครจะไม่อยากมีสุขภาพดีทั้งกายและใจไปพร้อมกับคนที่เรารัก

“โครงการปันสุข” จึงไม่ใช่แค่เรื่องราวของการไปเยือนชุมชนต้นแบบเท่านั้น แต่คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ลงมือ และส่งต่อแนวคิดดีๆ สู่คนไทยทุกพื้นที่ และนี่เป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น เพราะเร็ว ๆ นี้ แอมเวย์และหน่วยงานพันธมิตรจะสานต่อพลังความคิดของอาสาสมัครรุ่นใหม่ให้กลายเป็นกิจกรรมจริงที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง รอติดตามบทต่อไปของ “ปันสุข” ที่กำลังจะเริ่มขึ้น…ในไม่ช้า
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลข่าวสารและสาระด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดี รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก แอมเวย์ สามารถติดตามผ่านทุกช่องทาง Official ของ แอมเวย์ประเทศไทย ได้ที่
Website: www.amway.co.th
Facebook: www.facebook.com/amwaythailand
Line Official: @amwaythailand
TikTok: @sarasookth
Amway Contact Center: 0-2725-8000