Fly-Food แพลตฟอร์มบริการส่งอาหารให้คนจีนในประเทศไทย ปรับกลยุทธ์ยกระดับความคุ้มค่า ตอบโจทย์ลูกค้าช่วงการแพร่ระบาด 

0
1881

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด บริการดิจิทัลช่วยสร้างมูลค่าและประโยชน์ต่างๆ มากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ภาคส่วนต่างๆ จึงรีบเร่งดำเนินการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 78 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคที่มีอายุ 21 ถึง 40 ปี เปิดเผยกับ Deloitte ว่าตนเองใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาด ส่วนในประเทศไทย ผู้บริโภค 58 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าตนเองสั่งซื้ออาหารผ่านบริการส่งอาหารเพิ่มมากขึ้น

ภายใต้เทรนด์ดังกล่าว Fly-Food(象外 เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีในรูปแบบที่สร้างสรรค์ โดยเรื่องราวความสำเร็จนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

จุดประกายไอเดียธุรกิจด้วยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้บริโภค

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2561 ข้อมูลเชิงลึกที่เรียบง่ายเกี่ยวกับผู้บริโภคได้จุดประกายไอเดียธุรกิจ Fly-Food แพลตฟอร์มส่งอาหารเพียงหนึ่งเดียวที่รวบรวมร้านอาหารจีนที่หลากหลายในประเทศไทย

ต้า เผิง ผู้ก่อตั้ง Fly-Food กล่าวว่า ผมสังเกตว่านักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มที่จะเดินทางมายังประเทศไทยในช่วงวันหยุดยาว  ในช่วงวันแรกๆ นักท่องเที่ยวมักจะเลือกลิ้มลองอาหารท้องถิ่นเพื่อสัมผัสประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แต่หลังจากนั้น ส่วนใหญ่ก็เริ่มมองหาอาหารจีนแท้ๆ ที่คุ้นเคยเพื่อความสบายใจ”

เนื่องจากมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงนักท่องเที่ยวจากจีนอีกกว่า 10 ล้านคนต่อปีในปี 2562 Fly-Food จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยมีการขยายธุรกิจไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง เช่น กรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต และระยอง และให้บริการแก่ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไทย และนักท่องเที่ยวจากจีนโดยเฉพาะ  

ปรับแต่งกลยุทธ์ดิจิทัลและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ต้า เผิง บอกเล่าเกี่ยวกับมาตรการเบื้องต้นในการรับมือกับการแพร่ระบาด โดยกล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อลูกค้าของเรา โดยบางคนก็ตกงาน ขณะที่นักท่องเที่ยวบางส่วนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ส่งผลให้อำนาจในการใช้จ่ายลดลง เราจึงออกโปรโมชั่นพิเศษเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเราในช่วงเวลาที่ยากลำบาก และเราได้ปรับใช้แนวทางด้านความปลอดภัยเพื่อปกป้องคนส่งอาหารและลูกค้าของเรา”

ขณะเดียวกัน Fly-Food ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการแก่ชาวจีนในไทย ด้วยการเปิดตัวมินิโปรแกรมบนอาลีเพย์ (Alipay) โดยคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้ชาวจีนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก และ “อาหารท้องถิ่นของจีน” น่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาจิตใจให้ชาวจีนได้หายคิดถึงบ้านเกิดได้เป็นอย่างดี

การดำเนินการที่รวดเร็วภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอบริการผ่านช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก ก่อให้เกิดผลดีอย่างเป็นรูปธรรม

นับตั้งแต่ที่เปิดตัวมินิโปรแกรม Fly-Food บนอาลีเพย์ Fly-Food มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยอดสั่งซื้อจากลูกค้าประจำ ตอนนี้ Fly-Food มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยสูงถึง 700 รายการต่อวัน และมีร้านอาหารเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น โดย 40 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหารทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 1,500 ร้านเข้าร่วมกับ Fly-Food หลังจากการแพร่ระบาด และหลายร้านที่มากกว่าครึ่งของยอดขายมาจากออเดอร์ที่สั่งผ่าน Fly-Food

Fly-Food เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมแคมเปญที่อาลีเพย์จัดทำร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยภายใต้แคมเปญดังกล่าว มีการแจกคูปองดิจิทัลเพื่อกระตุ้นให้ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในไทยอย่างปลอดภัยตามมาตรการการป้องกันของรัฐ ซึ่งนับเป็นการสร้างรายได้และต่อลมหายใจให้กับธุรกิจเล็กๆในท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ Fly-Food มียอดสั่งอาหารเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15 เปอร์เซ็นต์ในช่วงที่จัดแคมเปญดังกล่าว

ต้า เผิง กล่าวเสริมว่า ในโลกวิถีใหม่ ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้นกับเรื่องของราคา ซึ่งนั่นหมายความว่า “ความคุ้มค่า” ยังคงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ คูปองดิจิทัลที่ให้ลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มอาลีเพย์มอบความคุ้มค่าให้กับลูกค้า และเรายังพบว่าผู้ใช้อาลีเพย์มีความคุ้นเคยและเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือการตลาดเพื่อให้ได้รับความคุ้มค่าสูงสุดจากการใช้จ่าย ส่งผลให้อัตราการเข้าร่วมของลูกค้าอยู่ในระดับที่ดี และให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ  ขณะเดียวกัน สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักเรามาก่อน อาลีเพย์ก็ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้คูปองดิจิทัลสำหรับบริการของ Fly-Food”