อุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2565 ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ท่ามกลางความเสี่ยงจากสงครามและปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ยืดเยื้อ

0
1035

ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น แต่เป็นอัตราเติบโตที่ชะลอลงเล็กน้อย จากคาดการณ์เดิมในช่วงต้นปียอดผลิตรถยนต์ในปี 2565 จะขยายตัวราว 2% หรืออยู่ที่ 1.72 ล้านคัน จากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ที่อาจกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ รวมทั้งต้นทุนการผลิตรถยนต์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบต่าง ๆ
ยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 2.8%YOY หรืออยู่ที่ราว 7.8 แสนคัน ชะลอลงจากคาดการณ์เดิม ณ ต้นปีที่ 8.2 แสนคัน ซึ่งแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน อีกทั้ง ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังฟื้นตัวได้จำกัด
ยอดส่งออกรถยนต์ในประเทศปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัว 2.1%YOY หรืออยู่ที่ราว 0.98 ล้านคัน มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังคงเป็นการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดียังต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปที่มีแนวโน้มชะลอลง
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวได้ดีจะมาจากกลุ่มรถบรรทุกและกลุ่มรถจักรยานยนต์ ขณะที่กลุ่มรถยนต์นั่งและรถโดยสารฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว
ยอดขายกลุ่มรถโดยสารและรถบรรทุกในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น โดยคาดว่ายอดจดทะเบียนรถโดยสารและรถบรรทุกจะขยายตัวที่ 3.1%YOY โดยมีปัจจัยหนุนมาจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ทั้งในส่วนของการก่อสร้างทั่วไปและโครงการเมกะโปรเจกต์ ทั้งนี้สำหรับกลุ่มรถโดยสาร (รถบัส) นั้น ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ตามภาคการท่องเที่ยว แต่คาดว่าจะสามารถทยอยฟื้นตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง ตามนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล
ยอดขายกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยคาดว่ายอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะขยายตัวอยู่ที่ 1.1%YOY จากปัจจัยหนุนในการคลายล็อกดาวน์และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
แต่ยังคงต้องติดตามปัญหาภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังที่ปรับตัวสูงขึ้น และอาจส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงยอดขายรถจักรยานยนต์ในประเทศและยอดส่งออกรถจักรยานยนต์ปี 2565 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องที่ 5.2% หรืออยู่ที่ราว 1.69 ล้านคัน โดยได้รับปัจจัยหนุนต่อเนื่องจากธุรกิจ delivery, e-commerce และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น รวมไปถึงความนิยมในรถจักรยานยนต์ราคาสูงที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีนและกลุ่มสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทยจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตามองปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก มีแนวโน้มยาวนานกว่าที่คาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังอุตสาหกรรมปลายน้ำอย่างรถยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในการผลิตด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และรถยนต์ EVs
ต้นทุนวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก ที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตรถยนต์ไทย เนื่องจากการคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้ราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบสินค้า commodities หลายตัวในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก และทำให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์ปรับตัวจะสูงขึ้นตามไปด้วย
แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ EVs ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Supply chain อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังของ
ยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) ยกเว้นผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์บางประเภท เช่น โครงรถ ตัวถัง ระบบช่วงล่าง เบาะนั่ง ล้อรถ เป็นต้น ซึ่งจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ EVs
แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ Car sharing และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมของผู้บริโภค คนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการเป็นเจ้าของทรัพย์สินน้อยกว่าคนรุ่นเก่าอาจส่งผลต่อความต้องการรถยนต์ในระยะต่อไป

จากประเด็นที่ต้องจับตามองของปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์, ราคาต้นทุนวัตถุดิบ, แนวโน้มตลาด EVs และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค EIC มองว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ ดังนี้
จากประเด็นปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และปัญหาราคาต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบจากแหล่งผลิตใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบชนิดอื่นทดแทน
จากแนวโน้มความต้องการรถยนต์ EVs ในตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่าง ๆ จะต้องมีการปรับแผนการผลิตรถยนต์ที่สอดรับกับนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ สำหรับกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์บางประเภทที่ยังสามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างรถยนต์ 2 ประเภทจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพการผลิตเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ EVs และสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับรถ EVs ได้อาจจะต้องมีการพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ หรือขยายธุรกิจไปยังตลาดชิ้นส่วนทดแทน (REM)
แนวโน้มเทรนด์ธุรกิจ Car sharing ที่จะนำไปสู่ธุรกิจใหม่ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความต้องการขับขี่รถยนต์แต่ไม่ได้มีความต้องการถือครองไว้ใช้ในระยะยาว ทั้งนี้การให้บริการเช่ารถยนต์ระยะสั้น ที่ให้บริการในหลายรูปแบบทั้งรายชั่วโมง รายเดือน จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

อ่านต่อรายงานฉบับเต็มได้ที่… https://www.scbeic.com/th/detail/product/automotive-110722

ผู้เขียนบทวิเคราะห์ : จิรภา บุญพาสุข (jirapa.boonpasuk@scb.co.th)
นักวิเคราะห์
Economic Intelligence Center
ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน
EIC Online: www.scbeic.com
Line : @scbeic

Disclaimer: The information contained in this report has been obtained from sources believed to be reliable. However, neither we nor any of our respective affiliates, employees or representatives make any representation or warranty, express or implied, as to the accuracy or completeness of any of the information contained in this report, and we and our respective affiliates, employees or representatives expressly disclaim any and all liability relating to or resulting from the use of this report or such information by the recipient or other persons in whatever manner. Any opinions presented herein represent our subjective views and our current estimates and judgments based on various assumptions that may be subject to change without notice, and may not prove to be correct. This report is for the recipient’s information only. It does not represent or constitute any advice, offer, recommendation, or solicitation by us and should not be relied upon as such. We, or any of our associates, may also have an interest in the companies mentioned herein.