อาการมือสั่น..ไม่ใช่เรื่องเล่นอีกต่อไปมือของคุณสั่นใช่ไหม? มือของคุณสั่นขณะทำกิจกรรมหรือไม่ ? อาการมือสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจส่งผลต่อชีวิตคุณ

0
1426

มือสั่น เป็นอาการที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือดูเหมือนเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในคนปกติเมื่อร่างกายอยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน เช่น ตื่นเต้น มีความเครียด มีความกังวลหรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่อาการมือสั่นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท และสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือเกิดการเสื่อมสภาพของร่างกาย หากอาการมือสั่นที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าคุณเสี่ยงที่จะเป็น “โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ” หรือ Essential Tremor

อาการมือสั่นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเป็นอาการที่พบได้บ่อย และมักเป็นอาการแสดงหนึ่งของโรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) และ โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) โดยทั้งสองโรคนี้ผู้ป่วยจะมีลักษณะของอาการมือสั่นที่แตกต่างกันและมีวิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน การวินิจฉัยเพื่อแยกโรคสามารถพิจารณาได้โดยดูว่าอาการสั่นเกิดขึ้นในช่วงใด ในโรคพาร์กินสันอาการมือสั่นมักจะเกิดขึ้นในขณะมืออยู่นิ่ง และเกิดกับมือด้านใดด้านหนึ่งก่อน โดยผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักพบมีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อเกร็ง หรือ ทรงตัวไม่ดี ในขณะที่อาการมือสั่นในโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุมักจะเกิดขึ้นกับมือทั้งสองข้างและมีอาการมือสั่นในขณะใช้มือทำกิจกรรมเป็นหลัก เช่น ขณะหยิบของ เขียนหนังสือ หรือ ตักอาหาร เป็นต้น 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมือสั่นไม่รุนแรงและไม่กระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น ใช้มือเขียนหนังสือได้ดี สามารถใช้มือจับแก้วและยกดื่มน้ำได้ไม่หก ในบางรายอาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากอาการสั่นนี้กระทบต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น เขียนหนังสือแล้วลายมือเปลี่ยน ใช้มือหยิบแก้วแล้วน้ำหก ไม่สามารถใช้มือจับช้อนตักข้าวได้ เบื้องต้นควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การรักษาโรคมือสั่น โดยทั่วไปมีวิธีการรักษา ดังนี้ (1) การรักษาด้วยยา ซึ่งการให้ยานั้นแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย (2) การทำภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่งและการทรงตัว ผู้ป่วยจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น และ (3) การผ่าตัด มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มากหรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยารับประทาน การผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) ซึ่งการผ่าตัดก็อาจตามมาด้วยความเสี่ยง และมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัด ทั้งนี้การรักษาทุกรูปแบบจะอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ผู้ทำการรักษา 

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ในการรักษาอาการสั่น ทั้งโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) และ โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) ด้วยวิธี Exablate ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือในผู้ป่วยที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการผ่าตัดผังอุปกรณ์ไว้ภายในร่างกาย ซึ่ง Exablate เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการสั่นโดยไม่มีบาดแผลใดๆ ใช้วิธีการรวมศูนย์คลื่นเสียงความถึ่สูงร่วมกับการนำทางคลื่นเสียงด้วยเครื่อง MRI ซึ่งแพทย์สามารถกำหนดเป้าหมาย และรักษาสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการสั่นได้อย่างแม่นยำ  หลังการรักษาอาการสั่นจะหายหรือลดลงอย่างเห็นได้ชัด และสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติภายใน 1 วัน

การรักษาด้วยวิธี Exablate นี้ มีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วมากกว่า​ 5,000 ราย ตามโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลกที่มีชื่อเสียงด้านการรักษาและเทคโนโลยีทางการแพทย์กว่า 50 แห่ง ในยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา เช่น มาโย​      คลินิก (Mayo Clinic) โรงพยาบาลมหา​  วิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University Hospital) บริกแฮมแอนด์วีเมนส์ (ฮาร์วาร์ด) (Brigham and Women’s (Harvard)) และ ดิ อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน (The Imperial College London)

สำหรับประเทศไทย นับเป็นศูนย์การรักษาแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มใช้เทคโนโลยี Exablate Neuro System โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาล 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช และ            โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลศิริราช โทรศัพท์                   02-414-0135 ติดต่อคุณสุรีรัตน์ จันทร์พาณิชย์ ห้องตรวจ MRI อาคาร​            นวมินทรฯ ชั้น 4 วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น. และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน โทรศัพท์                     02-576-6000 หรือผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์ contact@medfocus.co.th และเว็บไซด์ https://www.medfocus.co.th