ดร.แดน แถลง “ดัชนีการสร้างชาติ ดัชนีการจัดการวิกฤต  และดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต” 

0
2858

      ดร.แดน แถลง ‘ดัชนีการสร้างชาติ ไทยตก 2 อันดับ อยู่ที่ 52 ของโลก และที่ 4 อาเซียน ตามหลังเวียดนาม เหตุการเมืองยุ่ง ทุนมนุษย์ และการศึกษาแย่ ขณะที่ดัชนีการจัดการภาวะวิกฤต อันดับคงที่ อยู่ที่ 33 ของโลก ที่ 2 อาเซียน และดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต อันดับ 54 ของโลก ที่ 6 อาเซียน’

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ จัดแถลงผลการจัดอันดับดัชนีการสร้างชาติ ดัชนีการจัดการวิกฤต และ ดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต ประจำปี 2021 เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ในการประชุมนานาชาติเพื่อการสร้างชาติ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2021 ภายใต้หัวข้อ นวัตกรรมยุทธศาสตร์การฟื้นจากวิกฤตและการสร้างชาติซึ่งสถาบันการสร้างชาติได้จัดขึ้น โดยเป็นการประชุมทางไกลที่มีวิทยากรกว่า 50 คน จาก 20 ประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วโลกกว่า 2,000 คนจาก 50 ประเทศทั่วทุกทวีป

ประธานสถาบันการสร้างชาติ เปิดเผยเบื้องหลังการจัดทำดัชนีทั้ง 3 เอาไว้ว่า การจัดทำดัชนีเพื่อวัดเรื่องต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารงานได้ ช่วยนำพาองค์กรและประเทศชาติสู่ความสำเร็จ เนื่องจากทำให้เข้าใจสถานะที่แท้จริงของเรื่องต่างๆ ด้วยเหตุนี้สถาบันจึงตั้งใจที่จะพัฒนาดัชนี เพื่อจะเข้าใจสถานะและขับเคลื่อนการสร้างชาติ การบริหารวิกฤต และการฟื้นจากวิกฤตในปัจจุบัน 

ดัชนีการสร้างชาติ (Nation Building Index) มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสำเร็จในการสร้างชาติโครงสร้างดัชนีครอบคลุมปัจจัยที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการสร้างชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยตั้งอยู่บนฐานของแบบจำลองที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทั้งตัวแปรเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และถ่วงน้ำหนักแต่ละตัวแปรโดยการคำนวณอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ แทนการใช้ดุลยพินิจ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ

ส่วนดัชนีการจัดการวิกฤต (Crisis Management Index) มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของประเทศในการลดความเสี่ยงในการเกิดวิกฤต และการจัดการกับวิกฤตต่างๆ ขณะเกิดและหลังเกิดวิกฤตของประเทศ ว่ามีมากน้อยเพียงใด

ขณะที่ดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต (Crisis Recovery Management Index) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อวัดความเหมาะสมของการจัดการของประเทศเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต โดยในปีนี้เป็นกรณีของวิกฤตโรคโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ดัชนีถูกจัดทำขึ้นโดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของภาครัฐต่อการระบาดของโรค ว่าเหมาะสมต่อเหตุการณ์เพียงใด โดยจะต้องไม่เข้มงวดหรืออ่อนจนเกินไป เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างเป้าหมายด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาประสิทธิผลของการจัดการโดยพิจารณาจากผลลัพธ์ของการจัดการ แหล่งข้อมูลที่สำคัญได้มาจากฐานข้อมูล Oxford COVID-19 Government Response Tracker ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

“ดัชนีทั้งสามประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ถูกเลือกมาโดยการสำรวจวรรณกรรมทางวิชาการและการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ” ดร.แดน ระบุ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ชี้แจงผลการจัดอันดับของดัชนีทั้ง 3 ว่า 

ผลการจัดอันดับดัชนีการสร้างชาติ 113 ประเทศ พบว่า สิงคโปร์ได้อันดับที่ 1 ของโลก โดยมีคะแนนร้อยละ 74 และประเทศที่ติดอันดับ 2 ถึง 10 เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด ยกเว้นญี่ปุ่นที่อยู่ในอันดับที่ 7 ส่วนไทยได้คะแนนร้อยละ 48.อยู่ในอันดับที่ 52 ของโลก ตกจากอันดับที่ 50 ในปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 4 รองจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เปรียบเทียบดัชนีการสร้างชาติของไทยและเวียดนาม พบว่า ตัวชี้วัดที่ไทยมีคะแนนต่ำกว่า คือ เสถียรภาพทางการเมือง ทุนมนุษย์ และคุณภาพการศึกษา ส่วนตัวแปรที่มีคะแนนสูงกว่า คือ ความเป็นเมือง ประสิทธิผลของภาครัฐ การส่งออกของสินค้าที่มีเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐาน

    ขณะที่ผลการจัดอันดับดัชนีการจัดการวิกฤต 70 ประเทศทั่วโลก และ 4 ประเทศในอาเซียนที่มีข้อมูล พบว่า อันดับ 1 ของโลก คือ สวิตเซอร์แลนด์ ตามด้วย สหรัฐ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับ 33 ของโลก อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากมาเลเซีย (อันดับ 16 ของโลก) โดยสาเหตุที่ไทยได้คะแนนน้อยเนื่องจาก ไทยมีคนทำงานนอกระบบขนาดใหญ่ ทำให้ขาดตาข่ายรองรับทางสังคม เพื่อรองรับเมื่อเกิดวิกฤต

    ส่วนดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต จัดอันดับ 174 ประเทศทั่วโลก พบว่า อันดับ 1 ของโลก ได้แก่ จีน ตามด้วย แทนซาเนีย ไต้หวัน เยเมน และ ไนเจอร์ ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 54 ของโลก อันดับที่ 6 ของอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยสาเหตุที่ไทยได้คะแนนปานกลาง เนื่องจากไทยใช้นโยบายที่ยังไม่เข้มงวดเพียงพอในช่วงที่มีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากในระยะหลัง

“การสร้างชาติจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดในการประเมินและติดตามผลการสร้างชาติ ยิ่งหากเราได้ตัวชี้วัดที่ดี จะทำให้เรามีโอกาสการสร้างชาติประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น” ดร.กล่าวสรุป

ประเทศที่ได้อันดับ 1 – 5 จากการจัดอันดับดัชนีการสร้างชาติ 

Rank (Change from last year) Country Total Score (%) Economic Score (%) Social Score (%) Political Score (%)
1 (0) Singapore 74.0 73.9 58.7 97.3
2 (0) Sweden 71.5 64.7 70.0 90.7
3 (-3) Norway 70.8 61.8 72.0 91.5
4 (0) Finland 70.6 63.5 69.1 90.7
5 (+2) Switzerland 70.5 62.6 69.0 92.5

 

ดัชนีการสร้างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน

Rank (Change from last year) Country Overall Score (%) Economic Score (%) Social Score (%) Political Score (%)
1 Singapore 74.0 73.9 58.7 97.3
39 (0) Malaysia 54.5 54.9 48.6 62.3
42 (-2) Vietnam 52.8 57.3 47.7 49.1
52 (-2) Thailand 48.3 53.1 40.8 47.5
61 (-1) Indonesia 46.5 47.6 44.5 46.6
72 (-4) Philippines 43.6 45.4 41.9 41.5
81 (+1) Cambodia 41.0 39.3 46.7 36.5
84 (-2) Myanmar 40.4 41.4 45.7 29.8

 

ประเทศที่ได้อันดับ 1 – 5 จากดัชนีการจัดการวิกฤต

Rank Country Economic stability Gov. Effectiveness Social safety net Health Disaster management Total score
1 Switzerland 16.4 18.8 18.2 7.8 10.0 71.2
2 United States 15.0 16.9 19.2 10.6 6.7 68.4
3 Germany 15.8 17.3 18.8 7.5 8.7 68.1
4 Japan 15.8 17.3 18.3 7.2 9.3 67.9
5 Sweden 16.0 18.3 18.7 7.2 7.3 67.6

 

ดัชนีการจัดการวิกฤตในกลุ่มประเทศอาเซียน

World Rank (Change from last year) Country Economic stability Gov. Effectiveness Social safety net Health Disaster management Total Score
16 (-1) Malaysia 15.1 14.8 15.4 3.1 7.3 55.8
33 (0) Thailand 15.8 12.0 9.8 3.1 7.3 48.1
42 (0) Indonesia 15.9 11.3 10.0 2.6 6.0 45.7
67 (+2) Laos 14.2 7.1 3.2 2.2 3.3 30.0

หมายเหตุ : กรณีประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ข้อมูลไม่เพียงพอในการคำนวณ

ประเทศที่ได้อันดับ 1 – 5 จากดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต

Rank Country Index Score
1 China 63.5
2 Tanzania 62.9
3 Taiwan 54.1
4 Yemen, Rep. 45.9
5 Niger 38.9
6 Tajikistan 38.3
7 South Sudan 37.2
8 Uzbekistan 37.0
9 Liberia 36.5
10 Sierra Leone 35.4
11 Haiti 35.2
12 Bhutan 34.9
13 Chad 34.8
14 Singapore 33.5
15 Australia 32.8

 

ดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤตในกลุ่มประเทศอาเซียน

World Rank Country Index Score
14 Singapore 33.5
19 Vietnam 31.2
25 Cambodia 29.1
48 Indonesia 17.4
53 Philippines 16.2
54 Thailand 16.0
64 Malaysia 14.8
88 Myanmar 10.3
158 Lao PDR 3.0
NA Brunei Darussalam Not enough samples